นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 11 ในศตวรรษที่ 21 การเจริญเติบโตของเมืองและประชากรในเขตเมืองได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะ ปัญหามลพิษที่เพิ่มขึ้นจากการจราจรและการใช้พลังงานอย่างไม่ยั่งยืน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และสิ่งแวดล้อม การออกแบบเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนได้กลายเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเครื่องมือสำ �คัญในการช่วยจัดการจราจรและการใช้พลังงานเพื่อให้เมืองมีการจัดการที่มี ประสิทธิภาพและลดมลพิษได้อย่างยั่งยืน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปลี่ยนแปลงโลกอนาคต ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีฟังก์ชันที่สามารถทำ �งานได้เหมือนกับมนุษย์ และ สามารถเลียนแบบการทำ �กิจกรรมของมนุษย์ได้ เช่น การเรียนรู้ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นตัวช่วยมนุษย์ในการคิด ซึ่งจะเน้นไปในเรื่อง ของการประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพราะ AI สามารถทำ �งาน ได้รวดเร็วกว่าสมองของมนุษย์ แต่ AI ยังไม่สามารถทำ �หน้าที่ที่ต้องใช้ ประสาทสัมผัสได้ ด้วยความสามารถในการเรียนรู้ ปรับตัวและทำ �งานโดย อัตโนมัติ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ �วันหลายด้าน รวมถึง อุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การเงิน การศึกษา และพลังงาน รูปแบบของ AI AI แต่ละรูปแบบที่ใช้งานในปัจจุบันมีดังนี้ 1. Machine Learning (ML) เน้นการสร้างระบบที่สามารถ เรียนรู้จากข้อมูลและปรับปรุงการทำ �งานได้โดยไม่ต้องถูกตั้งโปรแกรมให้ ทำ �งานเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ อัลกอริทึมที่ใช้ในการแนะนำ �เพลง ใน Spotify หรือการจัดการโฆษณาใน Google Ads 2. Deep Learning (DL) เป็นเทคนิคในการเรียนรู้ที่พยายาม จำ �ลองการทำ �งานของมนุษย์ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) หลายชั้นเพื่อเรียนรู้จากข้อมูลที่ซับซ้อน เช่น การจดจำ �ใบหน้า ในภาพถ่าย การวิเคราะห์เสียงพูด 3. Natural Language Processing (NLP) AI ที่เกี่ยวข้องกับ การเข้าใจและประมวลผลภาษามนุษย์ เช่น ระบบผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistants) เช่น Siri, Google Assistant หรือโปรแกรมแปลภาษา 4. Robotics การประยุกต์ใช้ AI ในการควบคุมและพัฒนา หุ่นยนต์ที่สามารถทำ �งานในโลกจริง เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมหรือหุ่น ยนต์ที่ช่วยงานในบ้าน 5. Computer Vision การประมวลผลภาพและวีดิทัศน์ เพื่อให้ คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็น แยกแยะวัตถุ รูปร่าง และคุณสมบัติต่างๆ ของภาพได้เหมือนที่มนุษย์เห็น ตัวอย่างที่ทุกคนรู้จัก เช่น Google Translate ที่สามารถถ่ายภาพภาษาต่างประเทศและแปลเป็นภาษาที่ต้องการได้ทันที AI กับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่างๆ AI มีบทบาทสำ �คัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. การแพทย์ AI ถูกนำ �มาใช้ในการวินิจฉัยโรค วิเคราะห์ ภาพถ่ายทางการแพทย์ และแนะนำ �การรักษาอย่างแม่นยำ � ตัวอย่างเช่น ระบบ AI ที่ใช้ตรวจจับมะเร็งในภาพถ่ายรังสี การใช้ AI ในการวิจัย ยารักษาโรคที่ซับซ้อน 2. การเงิน AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน ประเมินความเสี่ยง ในการลงทุน และตรวจจับการฉ้อโกง ตัวอย่างเช่น ระบบ AI ในธนาคาร ที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าเพื่อแนะนำ �การลงทุน หรือป้องกันการโจรกรรมข้อมูล 3. การขนส่ง รถยนต์ไร้คนขับและระบบขนส่งอัจฉริยะได้รับ การพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี AI เช่น รถยนต์ไร้คนขับ Tesla สามารถขับเคลื่อนและตัดสินใจเองได้ในสถานการณ์ต่างๆ 4. การศึกษา AI ช่วยปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับนักเรียนแต่ละคน เช่น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่ใช้ AI ในการ วิเคราะห์ผลการเรียนและแนะนำ �บทเรียนที่เหมาะสม AI กับการจัดการจราจรเพื่อลดมลพิษ การจราจรเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ รถยนต์และยานพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) และสารมลพิษอื่น ๆ ที่ทำ �ลายชั้นบรรยากาศ และสุขภาพของประชาชน AI สามารถนำ �มาใช้ในการจัดการจราจรให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ตัวอย่างเช่น 1. ระบบจัดการสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ AI สามารถช่วยปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรให้เหมาะสมกับ สภาพการจราจรจริง โดยระบบสามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลจาก กล้องจราจรและเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนที่ของยานพาหนะ จากนั้นปรับสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับปริมาณการจราจรในแต่ละพื้นที่ การลดเวลารอคอยสัญญาณไฟจราจรจะช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์จากการหยุดนิ่งของรถยนต์ อาทิ การปรับแสงสัญญาณไฟจราจร เพื่อการมองเห็นที่ดียิ่งขึ้น เพิ่มความปลอดภัยสำ �หรับคนเดินเท้า เพิ่ม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5