นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 13 การติดตามและวิเคราะห์การใช้พลังงาน ใช้ซอฟต์แวร์หรือ แอปพลิเคชันที่สามารถติดตามการใช้พลังงานในอาคารแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานได้ ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Energy Management Systems - EMS) ระบบที่ช่วยในการควบคุมและปรับแต่งการใช้พลังงานในอาคาร โดยสามารถตั้งโปรแกรมให้ทำ �งานอัตโนมัติตามความต้องการ 2. ระบบพลังงานหมุนเวียน การบูรณาการ AI กับการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์และพลังงานลม สามารถทำ �ให้การผลิตและการบริหารจัดการ พลังงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น AI จะคาดการณ์ความต้องการ พลังงานในแต่ละช่วงเวลาและจัดสรรพลังงานจากแหล่งที่มีประสิทธิภาพ มากที่สุด ช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 3. ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) AI มีบทบาทสำ �คัญในการจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยสามารถควบคุมการจ่ายไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังช่วยคาดการณ์และป้องกันปัญหาการเสียหายของระบบ ไฟฟ้าทำ �ให้เมืองมีความมั่นคงทางพลังงานและลดการปล่อยมลพิษจาก โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำ �บรรพ์ ตัวอย่างเช่น ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม • ระบบโครงข่ายไฟฟ้า Smart Grid รองรับการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานน้ำ � พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อแหล่งพลังงานกำ �ลังจะหมดไป โดยพลังงานหมุนเวียนจะถูกนำ �มาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้อย่างยั่งยืน • Smart Grid สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เพราะมี ระบบการตรวจวัดหรือเซนเซอร์ตรวจจับพฤติกรรมการใช้พลังงาน ทำ �ให้ ภาพ 3 พลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน: การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์หรือระบบพลังงานลม มาจาก: https://www.gpscgroup.com/en/news/982/พลังงานทดแทน ระบบสามารถจัดการการจ่ายไฟฟ้าในปริมาณที่เหมาะสมได้ • ทำ �ให้เกิดความปลอดภัยขึ้นในชุมชนที่ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงได้ อย่างครอบคลุมทุกครัวเรือน โดยโครงข่ายที่ส่งและรับไฟฟ้าได้จะช่วยให้ ผู้คนใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย และเข้าถึงไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะอยู่ใน พื้นที่ห่างไกล • ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การใช้ พลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่จะใช้ในระบบ Smart Grid จะช่วยทำ �ให้ใช้ไฟฟ้าได้ประหยัด ขึ้นอีกด้วย • ช่วยพัฒนาสังคม สนับสนุนการนำ �เทคโนโลยีไปใช้ในสถานที่ ต่างๆ เช่น Smart School หรือ Smart Living ที่จำ �เป็นต้องใช้พลังงาน ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ด้านระบบไฟฟ้า • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ �งาน การบริการระบบไฟฟ้า สามารถมองเห็นปัญหาและแก้ไขได้อย่างรวดเร็วด้วยการนำ �เทคโนโลยี ต่างๆ เข้ามาช่วยกันอย่างผสมผสาน • Smart Grid รองรับระบบแบบกระจายศูนย์ โดยไม่ต้องพึ่งพา การจ่ายไฟฟ้าจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว ทำ �ให้มีความสะดวกรวดเร็ว ในการแก้ปัญหามากขึ้น • มีระบบที่บริหารจัดการพลังงานทั้งการผลิต การส่งออก การใช้พลังงานที่เหมาะสมด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณการใช้ ไฟฟ้าร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำ �ให้จัดการการจ่ายไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น • หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถกลับมาใช้ พลังงานได้ใหม่ภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากส่วนกลาง เมื่อเกิดไฟฟ้าดับก็สามารถนำ �ไฟฟ้าสำ �รองในบริเวณใกล้เคียงมาทดแทนได้ • มีระบบที่ช่วยกักเก็บพลังงาน ทำ �ให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้า มีเสถียรภาพ ระบบ Smart Grid จะทำ �ให้มีการไหลของกระแสไฟฟ้า มากกว่า 1 ทิศทาง เมื่อผลิตไฟฟ้าได้เกินความจำ �เป็นก็จะสามารถกักเก็บ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5