นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 17 นิตยสาร สสวท. ครอบคลุมองค์ประกอบสำ �คัญ 7 ประการ ได้แก่ 1. รายละเอียดของภาพ โดยรวม 2. ลักษณะของวัตถุหลัก 3. พื้นหลังและบรรยากาศ 4. แสงและเงา 5. มุมมองและมิติ 6. สไตล์ของภาพ และ 7. สีและโทน การระบุองค์ประกอบ เหล่านี้อย่างชัดเจนจะช่วยให้ DALL·E สร้างภาพที่ตรงตามความต้องการ มีความสมจริง และสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ คำ �อธิบายที่เฉพาะเจาะจงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภาพ ในกรณี ที่บางองค์ประกอบหายไป ครูสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดลงไปได้ ซึ่งจะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้งาน AI เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่ตรงความต้องการมากที่สุด 1. ระดับมหภาค (Macroscopic Level) ระดับนี้เป็นการสอนที่มุ่งเน้นการสังเกตปรากฏการณ์ที่เห็นได้ ด้วยตาเปล่า เช่น เมื่อต้มน้ำ �จนเดือดจะเห็นฟองอากาศและละอองน้ำ � ลอยขึ้นมาจากผิวน้ำ �และเป็นไอน้ำ �ในที่สุด ซึ่งเป็นตัวอย่างของการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพโดยสสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส โดยการให้ความร้อน สามารถสร้างตัวแทนทางความคิดในระดับมหภาคได้ ดังภาพ 2 Prompt: An open clear beaker of water on a laboratory heating plate is boiling vigorously in a bright, modern science laboratory. Bubbles rise rapidly through the water, which is turning into visible steam that escapes and drifts into the air. The setting is a clean, modern lab with a light-colored background, including sleek counters and laboratory equipment. A thermometer indicates a temperature of 100 degrees Celsius, submerged in the beaker to measure the boiling point. The sunlight gently illuminates the delicate movement of the steam, creating subtle shadows and highlights. The scene is viewed from eye level, capturing the transition from liquid water to vapor with a sense of depth and realism. The style is highly realistic, resembling a photograph with natural colors and soft tones that enhance the sterile and professional environment of the laboratory. หมายเหตุ = รายละเอียดของภาพโดยรวม = ลักษณะ ของวัตถุหลัก = พื้นหลังและบรรยากาศ = แสงและเงา = มุมมองและมิติ = สไตล์ของภาพ และ = สีและโทน จากภาพ 2 พบว่ามีลักษณะของฟองอากาศที่คล้ายๆ ฟองสบู่ ลอยอยู่ในอากาศเป็นจำ �นวนมากซึ่งไม่สอดคล้องกับการเดือดจริงของน้ำ � ควรมีการกำ �กับ Prompt เพิ่มเติมในลักษณะของวัตถุ เช่น เปลี่ยนคำ �ว่า Bubbles เป็น Water Bubbles เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้องตามหลักการ ทางวิทยาศาสตร์ 2. ระดับกึ่งจุลภาค (Submicroscopic Level) ระดับนี้เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางกายภาพในเชิงลึก โดยพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโมเลกุลของน้ำ � ในกรณีนี้โมเลกุล ของน้ำ � (H 2 O(l)) ได้รับพลังงานความร้อนทำ �ให้การเคลื่อนไหวของ โมเลกุลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งโมเลกุลบางส่วนหลุดออกจากกลุ่ม โมเลกุลในสถานะของเหลวกลายเป็นโมเลกุลของน้ำ �ในสถานะแก๊สหรือ ไอน้ำ � (H 2 O(g)) การสร้างภาพตัวแทนทางความคิดระดับกึ่งจุลภาคผ่าน GenAI ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ การเขียน Prompt ที่มีประสิทธิภาพควร ระบุรายละเอียดทางเคมีอย่างชัดเจน เช่น “โมเลกุลน้ำ �หนึ่งโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอม มุม พันธะระหว่าง H-O-H คือ 104.5 องศา” นอกจากนี้ ควรระบุลักษณะ ทางกายภาพที่ต้องการ เช่น “แสดงพันธะโคเวเลนต์ด้วยเส้นสีเทา อะตอม ออกซิเจนเป็นสีแดง และอะตอมไฮโดรเจนเป็นสีขาว” การระบุเช่นนี้จะช่วย เพิ่มความแม่นยำ �ในการสร้างภาพ อย่างไรก็ตาม ครูควรตระหนักว่า อาจต้องสร้างภาพหลายครั้งและตรวจสอบความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ อย่างละเอียด เนื่องจาก GenAI อาจมีข้อจำ �กัดในการสร้างภาพที่มี ความแม่นยำ �ทางวิทยาศาสตร์ การปรับแต่ง Prompt และการตรวจสอบ ผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ได้ภาพที่มีคุณภาพและความถูกต้องมาก ยิ่งขึ้น ดังภาพ 3 ภาพ 2 แสดงน้ำ �เดือดกลายเป็นไอในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ภาพ 3 แสดงโมเลกุลของน้ำ � 1 โมเลกุล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5