นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 19 3. ระดับสัญลักษณ์ (Symbolic Level) ระดับนี้เป็นการอธิบายด้วยการใช้สัญลักษณ์และสมการทาง เคมี ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของน้ำ �จากสถานะของเหลวไปเป็นไอน้ำ � (แก๊ส) จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ดังนั้น สัญลักษณ์ที่ใช้ยังคงเป็น H 2 O แต่อยู่ในสถานะที่ต่างกัน สามารถเขียนสมการได้เป็น H 2 O(l) H 2 O(g) การสร้างตัวแทนทางความคิดระดับสัญลักษณ์ด้วย GenAI เป็น วิธีการที่ค่อนข้างตรงไปตรงมาและมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากสามารถ แสดงเป็นสัญลักษณ์ทางเคมีผ่านข้อความได้โดยตรง โดยไม่จำ �เป็นต้อง สร้างเป็นรูปภาพ ในการเขียน Prompt ควรระบุความต้องการอย่างชัดเจน เช่น “อธิบายน้ำ �เดือดกลายเป็นไอในระดับสัญลักษณ์ (Symbolic level)” หรือ “แสดงสมการเคมีสำ �หรับการเปลี่ยนสถานะของน้ำ �จากของเหลว เป็นไอ” นอกจากนี้ ยังสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เช่น “อธิบายว่า ทำ �ไมสูตรโมเลกุล H 2 O จึงไม่เปลี่ยนแปลงในกระบวนการนี้” การใช้ แนวทางนี้จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนสำ �หรับการอธิบาย ปรากฏการณ์ทางเคมีในระดับสัญลักษณ์ ดังตัวอย่างในภาพ 6 หรือในการสอน ครูอาจอภิปรายเพิ่มเติม เช่น อาจ + พลังงาน (หรือ + ความร้อน) ไว้ ด้านซ้ายมือของสมการ เพื่อให้เห็นว่าการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปแก๊ส ต้องใช้พลังงานหรือความร้อน หรือครูอาจแสดงลูกศร 2 ทาง เพื่อให้เห็นว่า ภาพ 6 แสดงการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของน้ำ �เดือดในระดับสัญลักษณ์ การเปลี่ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ จากการใช้ GenAI การสร้างตัวแทนทางความคิดเชิงเคมีทั้ง 3 ระดับ พบว่า GenAI เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในทางการศึกษา ช่วยให้ ครูประหยัดเวลาในการสร้างสื่อการสอน ช่วยสร้างภาพที่มีรายละเอียดสูง สร้าง แนวคิดเบื้องต้นสำ �หรับการอธิบายปรากฏการณ์ระดับโมเลกุล และสามารถ ปรับแต่งภาพได้ตามความต้องการผ่านการปรับ Prompt นอกจากนี้ ในระดับสัญลักษณ์ยังสร้างและอธิบายสมการเคมีได้ดีและรวดเร็ว ให้ คำ �อธิบายที่ครอบคลุมและเข้าใจง่าย แต่การใช้งานยังมีข้อจำ �กัดด้าน ความแม่นยำ �ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในการแสดงโครงสร้างโมเลกุลที่ ซับซ้อน อาจมีความคลาดเคลื่อนในรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์บางประการ ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้าง สมการและคำ �อธิบายที่ ซับซ้อน ซึ่ง Nascimento Júnior et al. (2024) ได้อธิบายว่า DALL · E และ AI อื่นๆ มีข้อจำ �กัดในการสร้างภาพทางเคมีที่ถูกต้อง มักเกิด “Hallucinations” หรือการสร้างภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเคมี ทำ �ให้ความแม่นยำ �ในการสร้างภาพยังต่ำ �กว่าการสร้างเนื้อหาแบบข้อความ จากข้อจำ �กัดที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของครูที่ต้องพัฒนาทักษะ ในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ได้ Prompt ที่มีประสิทธิภาพ และต้อง ช่วยตรวจสอบความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ของเนื้อหาที่สร้างขึ้นเสมอ การใช้ GenAI กับการปรับแต่งด้วยตนเองจะทำ �ให้ได้สื่อการสอนที่มี ประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ โดยครูจำ �เป็นต้อง พัฒนาให้ตนเองมี AI Competency ซึ่งประกอบด้วย 1. กรอบความคิดที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง 2. จริยธรรมของ AI 3. AI พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ 4. การสอนด้วย AI 5. AI สำ �หรับการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อให้มั่นใจว่าครูมีความพร้อมในการใช้ AI อย่างรับผิดชอบและ มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนและ สังคม (UNESCO, 2024) Gilbert, J. K. & Treagust, D. F. (2009). Introduction: macro, submicro and symbolic representations and the relationship between them. key models in chemical education. In Multiple Representations in Chemical Education. :1-8 pp. Springer, Dordrecht. Gkitzia, V. & Salta, K. & Tzougraki, C. (2020). Students’ Competence in Translating between Different Types of Chemical Representations. Chemistry Education Research and Practice, 21 (1): 307-330. Johnstone, A. H. (1982). Macro-and Micro-Chemistry. School Science Review, 64 : 377–379. Cited in Kunda, M. (2021). The AI Triplet: computational, conceptual, and mathematical representations in AI education. Retrieved October 25, 2024, from https://arxiv.org/abs/2110.09290. Nascimento Júnior & W. J. D. & Morais, C. & Girotto Júnior, G. (2024). Enhancing AI Responses in Chemistry: integrating text generation, image creation, and image interpretation through different levels of prompts. Journal of Chemical Education, 101 : 3767–3779. https://doi.org/10.1021/acs.jchemed.4c00230. OpenAI. (n.d.). DALL·E 3. OpenAI. Retrieved October 25, 2024, from https://openai.com/index/DALL· E -3/. Stryker, C. & Scapicchio, M. (2024, March 22). What is Generative AI? IBM. Retrieved October 25, 2024, from https://www.ibm.com/topics/generative-ai. UNESCO. (2024). AI Competency Framework for Teachers . United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. Retrieved October 25, 2024, from https://doi.org/10.54675/ZJTE2084. ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล ชาตรี ฝ่ายคำ �ตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2564). การพัฒนาการด้านสมรรถนะในการนำ �เสนอตัวแทนความคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหัวข้อเซลล์เคมีไฟฟ้าผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำ �ลองเป็นฐาน, วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44 (4): 84-99. ชาตรี ฝ่ายคําตา. (2563). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เคมี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. อนุชา โสมาบุตร. (n.d.). Generative AI คืออะไร. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2567, จา ก https://ltic.kku.ac.th/what-is- generative-ai/. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5