นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 23 ได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนอนุภาคที่มีปฏิสัมพันธ์น้อยกับสนามฮิกส์ทำ �ให้อนุภาคมีมวลน้อยและสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว (Luis, R. 2024) การเปรียบเทียบนี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าสนามฮิกส์มีบทบาทในการกำ �หนดมวลของอนุภาคอย่างไร ยิ่งอนุภาคมี ปฏิสัมพันธ์กับสนามมากเท่าใด อนุภาคนั้นก็จะมีมวลมากขึ้นเท่านั้น 2. การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม: การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ สำ �หรับการจำ �ลองการทดลองการชนอนุภาคใน Large Hadron Collider (LHC) ในห้องเรียน เราสามารถออกแบบกิจกรรมง่ายๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจการทำ �งานและการค้นหาฮิกส์โบซอนได้โดยไม่จำ �เป็นต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมากนัก ตัวอย่างเช่น 1. กิจกรรมวิ่งชนสู่ฮิกส์โบซอน วัตถุประสงค์: จำ �ลองการชนกันของโปรตอนใน LHC และแสดงผลของการชนที่อาจทำ �ให้เกิดอนุภาคใหม่ วิธีการ: 1. ให้นักเรียนเลือกตัวแทนออกมาหน้าห้อง 4 คน เพื่อจำ �ลองกลุ่มโปรตอน โดยแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 คน 2. นักเรียนแต่ละฝั่งวิ่งเข้าหากันและชนกัน จากนั้นให้กระจายตัวเป็นอนุภาคใหม่ เช่น มิวออน ทาวน์ อิเล็กตรอน และ ฮิกส์โบซอน 3. อธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คล้ายกับการชนของโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค LHC เมื่อโปรตอนชนกัน พลังงานจากการชนจะ ก่อให้เกิดอนุภาคใหม่ เช่น ฮิกส์โบซอน มิวออน และอื่นๆ ภาพ นักเรียน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน แทนโปรตอน 2 ตัว ภาพ การกระจายตัวเป็นอนุภาคใหม่ เช่น มิวออน ทาวน์ อิเล็กตรอน และฮิกส์โบซอน ภาพ นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มวิ่งมาชนกันด้วยความเร็วสูง โปรตอน โปรตอน โปรตอน มิวออน ทาวน์ อิเล็กตรอน ฮิกส์โบซอน โปรตอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5