นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

24 นิตยสาร สสวท. ิ ต 2. การใช้ซอฟต์แวร์จำ �ลอง วัตถุประสงค์: เพื่อจำ �ลองการเดินทางสำ �รวจจากระดับอนุภาคย่อยไปยังขอบเขตที่ไกลที่สุดของจักรวาล นักเรียนจะได้ค้นพบ ภาพการปฏิสัมพันธ์และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนุภาคต่างๆ ตั้งแต่ระดับใหญ่ไปจนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุด วิธีการ: นักเรียนสามารถใช้ซอฟต์แวร์ออนไลน์ที่จำ �ลองการสำ �รวจอนุภาค ตั้งแต่การสำ �รวจอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึงอนุภาคย่อย Quantum to Cosmos. (n.d.). [การอธิบายอนุภาค ฮิกส์โบซอน ]. ที่มา: https://quantumtocosmos.ca/#/landing CERN. (n.d.). [โมเดลเครื่องตรวจจับอนุภาค]. ที่มา: https://scoollab.web.cern.ch/diy-particle-detector ที่เล็กที่สุด เช่น ควาร์กและฮิกส์โบซอน ซอฟต์แวร์นี้ไม่เพียงแสดงภาพ การทำ �งานและปฏิสัมพันธ์ของอนุภาคแต่ละชนิด แต่ยังให้ข้อมูลรายละเอียด เกี่ยวกับอนุภาคนั้น สำ �หรับฮิกส์โบซอน เว็บไซต์ Quantum to Cosmos ได้อธิบาย ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของฮิกส์โบซอน รวมถึงวีดิทัศน์ที่ บอกเล่าเกี่ยวกับการค้นพบอนุภาคนี้ที่ CERN การใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวช่วย เสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการอินเตอร์แอคทีฟ ทำ �ให้นักเรียนสามารถเห็นภาพ การทำ �งานของฮิกส์โบซอน ในบริบทของจักรวาลได้อย่างชัดเจน 3. การสร้างแบบจำ �ลอง 3 มิติ วัตถุประสงค์: จำ �ลองโครงสร้างของเครื่องตรวจจับ ATLAS หรือ CMS ใน LHC วิธีการ: 1. ใช้เครื่องพิมพ์ 3D สร้างแบบจำ �ลองของเครื่องตรวจจับอนุภาคใน LHC ครูสามารถนำ �ไปใช้เป็นสื่อการสอนในห้องเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจโครงสร้างและการทำ �งานของเครื่องตรวจจับอนุภาคได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมและ แบบจำ �ลอง 3D ได้ที่ลิงก์ https://scoollab.web.cern.ch/classroom-activities 2. ศึกษาวิธีการตรวจจับอนุภาคที่เกิดขึ้นหลังจากการชน เช่น อิเล็กตรอนหรือโฟตอน 3. สร้างกิจกรรมที่ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจจับและเปรียบเทียบกับข้อมูลจริงจากการทดลองที่ CERN กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้สัมผัสกับแนวคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในฟิสิกส์อนุภาค ซึ่งไม่เพียงแต่สร้าง ความเข้าใจเชิงทฤษฎี แต่ยังช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการทดลองเชิงปฏิบัติและการใช้เทคโนโลยี.

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5