นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 25 CERN. (2024). Classroom activities. Retrieved October 17, 2024, from https://scoollab.web.cern.ch/classroom-activities. Dahlkemper, R., et al. (2022). Modern Approaches in Physics Education. Springer Luis, R. (2024). The discovery of the Higgs boson. International Teacher Weeks 2024, CERN, Switzerland. Quantum to Cosmos. (n.d.) Retrieved October 17, 2024, from https://quantumtocosmos.ca/#/landing. Wahyuni, S. (2022). Advances in Particle Physics Education. Science Education Press. Woithe, J., et al. (2022). Developing Educational Resources at CERN: The Impact of Particle Physics on Science Education . CERN. ภูฟ้า. (2012). กราฟการทดลองค้นพบ higgs boson. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567, จาก https://www.gotoknow.org/posts/507794. บรรณานุกรม 4. การฝึกวิเคราะห์ข้อมูลกราฟจากการทดลองของ CERN เพื่อการค้นพบอนุภาคฮิกส์โบซอน ในการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนควรได้รับโอกาสในการฝึกวิเคราะห์ข้อมูลกราฟจาก การทดลองจริง ซึ่งหนึ่งในกรณีศึกษาที่มีความสำ �คัญอย่างยิ่งคือ การค้นพบอนุภาค ฮิกส์โบซอน จากการทดลองที่ CERN นักเรียนจะได้ ฝึกคิดและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ที่ทำ �งานในระดับโลก วิธีการดำ �เนินกิจกรรม 1. การเตรียมข้อมูลและกราฟ: ครูสามารถใช้ข้อมูลกราฟที่ได้จากการทดลองของ ATLAS และ CMS ซึ่งเป็นการทดลอง ที่นำ �ไปสู่การค้นพบฮิกส์โบซอน กราฟเหล่านี้แสดงถึงการวิเคราะห์การชนกันของโปรตอนที่พลังงานสูง และการสลายตัวของฮิกส์โบซอน ไปเป็นอนุภาคอื่นๆ เช่น โฟตอนหรือเลปตอน 2. การอธิบายเบื้องต้น: ครูควรอธิบายพื้นฐานของการทดลองและบทบาทของกราฟในกระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทำ �งานของเครื่องตรวจจับอนุภาค การตรวจวัดสัญญาณจากการสลายตัวของฮิกส์โบซอน 3. การฝึกวิเคราะห์: ให้นักเรียนวิเคราะห์กราฟโดยการดูจำ �นวนของเหตุการณ์การชน (Collision Events) และการ เปรียบเทียบกับการคาดการณ์ตามทฤษฎี นักเรียนจะต้องสังเกตการกระจายของข้อมูล และวิเคราะห์ว่าเมื่อใดที่มีการเบี่ยงเบนจาก ค่าคาดการณ์ซึ่งเป็นสัญญาณของการมีอยู่ของฮิกส์โบซอน 4. การสรุปผล: นักเรียนจะต้องสรุปผลการวิเคราะห์ของตนเองและเชื่อมโยงกับการค้นพบฮิกส์โบซอน โดยอธิบายว่าข้อมูล ในกราฟแสดงให้เห็นถึงการยืนยันว่ามีฮิกส์โบซอนอยู่จริงอย่างไร ภูฟ้า. (2012, October 29). [กราฟการทดลองค้นพบ Higgs boson]. ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/507794

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5