นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

28 นิตยสาร สสวท. ภาพ 3 โครงร่างการเขียนบทความครั้งที่ 2 จากการแนะนำ �ของ AI Gemini เมื่อได้อ่านโครงร่างจาก Gemini ผู้เขียนพบว่าโครงร่างดังกล่าว มีองค์ประกอบน่าสนใจ มีการเริ่มต้นแนะนำ �ถึงความสำ �คัญ ความหมาย ประโยชน์ เทคนิคในการเรียนรู้ สรุปจบ และแนวคิดเพิ่มเติมเป็นตัวเลือก ในการเขียนปิดท้ายบทความ โครงร่างดังกล่าวสามารถนำ �ไปใช้จริงได้ เพียงแต่รายละเอียดภายใต้แต่ละหัวข้อในบางรายละเอียดอาจจะยัง ไม่สอดคล้องกับหัวข้อบทความมากนัก เช่น การเชื่อมโยงการทำ �งาน ของสมอง รวมถึงโครงร่างดังกล่าวยังเป็นโครงร่างมาตรฐานที่สามารถพบได้ หรือยกร่างได้ทั่วไป ผู้เขียนจึงป้อนคำ �สั่งให้ Gemini ลองแนะนำ �โครงร่าง แบบอื่นๆ มาพิจารณาประกอบด้วย โดย Gemini นำ �เสนอโครงร่าง ลักษณะอื่นมาให้พิจารณาอีก ผู้เขียนพิจารณาแล้วก็พบว่าโครงร่าง แบบที่สองมีความน่าสนใจเพิ่มเติม โดยมีการเสนอให้ใช้สถานการณ์ ผู้คนที่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ในช่วงบทนำ �ของบทความ รวมทั้งคำ �นึงถึง Mindset ของผู้เรียนด้วย ดังภาพ 3 การใช้สถานการณ์ในช่วงบทนำ �ของบทความ การกล่าวถึง mindset ของผู้เรียน ภาพ 2 โครงร่างการเขียนบทความครั้งที่ 1 (ต่อ) จากการแนะนำ �ของ AI Gemini V. แหล่งข้อมูล การกล่าวถึงตัวช่วยในการ เรียนรู้ เช่น ใช้แอปพลิเคชัน หรือการนอนหลับ อย่างเพียงพอ VI. สรุปจบ ให้มีการสรุปหัวใจสำ �คัญของเรื่อง รวมทั้งให้เชิญชวนผู้อ่านในการเริ่มต้นพัฒนาการ เรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง VII. เชิญชวนให้เริ่มลงมือ (ตัวเลือก) มีการ เชิญชวนผู้อื่นให้ร่วมแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนรู้ ที่ตนเองชอบหรือแหล่งข้อมูล

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5