นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 31 • ความสำ �คัญของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ในมุมมองของหน่วยงาน การศึกษาระดับโลก • นิยามของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ • การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ในหลักสูตรระดับประเทศ • แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ • การเริ่มพัฒนาความสามารถของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ การที่ Gemini เป็นตัวช่วยในการหาข้อมูลดังกล่าว พบว่า Gemini สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นในภาพรวมได้ เช่น หน่วยงานใดบ้าง ที่กล่าวถึงการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และกล่าวว่าอย่างไรบ้าง แต่เมื่อผู้เขียน เข้าไปศึกษาแหล่งอ้างอิงเพื่อเข้าถึงเอกสารต้นฉบับที่กล่าวถึง พบว่า บางแหล่งข้อมูลสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ แต่บางแหล่งไม่สามารถ เข้าถึงเอกสารต้นฉบับได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องค้นหาแหล่งข้อมูล ต้นฉบับจากฐานข้อมูลอื่น เช่น Google Scholar เพื่อจะได้ข้อมูลที่ น่าเชื่อถือมาเขียนบทความ แต่อย่างไรก็ตาม Gemini ก็สามารถให้ข้อมูล เบื้องต้นเพื่อที่ผู้เขียนสามารถนำ �มาใช้ในการสืบเสาะต่อไปได้ หรือการให้ Gemini หาข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อ การเรียนรู้ พร้อมทั้งกรอบแนวคิดและแหล่งอ้างอิงของทฤษฎีเหล่านั้น แม้ข้อมูลจะได้มาจากหลายแหล่ง ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลพื้นฐานที่ขยายกรอบ แนวคิดของผู้เขียน แต่ข้อมูลที่ Gemini ให้มานั้นเป็นสรุปภาพรวมและ บางส่วนอาจจะยังไม่ครอบคลุมแนวคิดของทฤษฎีนั้นทั้งหมด สำ �หรับการหาข้อมูลที่ Gemini ทำ �ได้ดีคือ ข้อมูลภาพรวมที่ไม่เน้น แหล่งอ้างอิงหรือเอกสารต้นฉบับ เช่น การให้ Gemini ช่วยหาแนวทาง การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พบว่าได้ข้อมูลแนวทางการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และน่าจะสามารถนำ �ไปใช้ต่อยอดได้จริง 3.3 การแปลข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ในส่วนของการแปลความนั้น จากการที่ผู้เขียนได้ให้ Gemini ให้ข้อมูลนิยามของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นจึงให้ ช่วยแปลนิยามดังกล่าวเป็นภาษาไทย พบว่าเมื่อเทียบเนื้อความภาษา อังกฤษกับภาษาไทยแล้ว มีแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้อความภาษาไทย ที่แปลมานั้นอ่านง่าย สละสลวย และได้ใจความสำ �คัญครบ โดยมีบางส่วน ที่ควรปรับปรุงคือ การแปลคำ �ศัพท์บางคำ �ที่ยังใช้ภาษาซับซ้อน และ ข้อความที่แปลมาในบางบริบทที่ควรจะขยายให้เข้าใจตรงกันเท่านั้น 3.4 การสร้างสรรค์ภาพประกอบบทความ ผู้เขียนได้ขอให้ Gemini ช่วยสร้างภาพประกอบบทความ โดย การเขียนคำ �สั่งบรรยายภาพที่อยากได้ และให้ Gemini ช่วยสร้างสรรค์ พบว่าบางภาพ แม้บรรยายข้อความอย่างชัดเจนแล้วก็ยังไม่ได้ภาพที่ตรง ตามความต้องการ แต่จะเป็นภาพที่ใกล้เคียงกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นข้อจำ �กัดของ Gemini ในเวลานั้นเท่านั้น ผู้เขียนเคยใช้ AI ตัวอื่นในการสร้างภาพ พบว่าให้ภาพที่ตรงกับข้อความกว่า ซึ่งในบทความ “เริ่มต้นกับการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้” ก็ได้มาจาก Gemini ทั้งสิ้น ผู้อ่าน อาจลองกลับไปอ่านบทความนั้นอีกครั้งอาจจะคิดเห็นตรงกับผู้เขียน ก็ได้ว่าภาพบางภาพใกล้เคียงกับการสื่อความหมาย แต่อาจจะมีภาพอื่นที่ ดีกว่านี้ในการสื่อความหมายดังกล่าว สะท้อนคิด: AI ช่วยเพิ่มหรือลดการเรียนรู้ ภาพรวมของการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนพอใจในการทำ �งานโดยมี AI เป็นผู้ช่วย พบว่าแม้การทำ �งานบางส่วนจะไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ เช่น การสร้างสรรค์ภาพ หรือการให้ข้อมูลที่ต้องการความถูกต้องและการ อ้างอิงสูง แต่ผู้เขียนพบว่าการทำ �งานหลายๆ อย่างได้ผลลัพท์เกิน ความคาดหวังมาก เช่น การแนะนำ �ไอเดีย หรือการให้ข้อมูลที่ได้ กรอบแนวคิดที่หลากหลาย ในการใช้ AI เป็นผู้ช่วยในการเขียนบทความครั้งนี้ หากมอง การเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมเชิงสังคม (Social Constructivism) ซึ่ง จากแนวคิดของ Vygotsky (1896 - 1934) นักการศึกษาชื่อดังที่ได้ วางรากฐานไว้ แนวคิดของทฤษฎีนี้สรุปได้ว่ามนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม (Vygotsky, 1978) และ Turner (1988) ได้ขยายความของปฏิสัมพันธ์ ดังกล่าวในเชิงปฏิสัมพันธ์กับสังคมว่า เป็นสถานการณ์ที่พฤติกรรมของ บุคคลหนึ่งได้ถูกจัดเรียงใหม่ และได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมของอีก บุคคลหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้ของบุคคลหนึ่งสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ผ่านการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในการเขียนบทความ โดยมี AI เป็นตัวช่วยครั้งนี้ ผู้เขียนพบว่าเมื่อผู้เขียนได้ป้อนข้อความให้ AI ส่งข้อมูลกลับมา หลายครั้งข้อมูลดังกล่าวมีขอบเขตและแนวคิด มากกว่าที่ผู้เขียนได้คาดหมายไว้ ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้เรียนรู้ต่อยอดและขยาย ขอบเขตแนวคิดของตนเองจากข้อมูลที่ได้รับจาก AI ทั้งนี้ ผู้เขียนมองว่า AI Gemini นับเป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้เขียนมีปฏิสัมพันธ์ด้วย และช่วย ต่อยอดให้ผู้เขียนได้มีความรู้และแนวคิดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งสอดคล้อง กับมุมมองของทฤษฎีปัญญาแบบกระจาย (Distributed Cognition Theory)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5