นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
32 นิตยสาร สสวท. Kim, J. & Lee, H. & Cho, Y. H. (2022). Learning Design to Support Student-AI Collaboration: perspectives of leading teachers for AI in education. Education and Information Technologies, 27 (5): 6069-6104. Ouyang, F. & Jiao, P. (2021). Artificial Intelligence in Education: the three paradigms. Computers and Education: Artificial Intelligence, 2 : 100020. Turner, J. H. (1988). A Theory of Social Interaction . Stanford University Press. Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: the development of higher psychological processes . M. Cole, V. & John-Steiner, S. Scribner & E. Souberman, Eds.). Harvard University Press. บรรณานุกรม โดย Kim et al. (2022) ได้กล่าวถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่าง AI กับผู้เรียน ไว้ว่ากระบวนการที่สร้างความรู้ความเข้าใจอาจจะขยายจากบุคคลไปสู่ ระบบที่เปิดกว้างขึ้น โดยอาจจะมีตัวกลาง ทั้งนักเรียน ครู หรือแม้กระทั่ง AI เอง อย่างไรก็ตาม การมีปฏิสัมพันธ์กับ AI ในการทำ �งานมีหลายระดับ ซึ่งจะส่งผลไปถึงคุณภาพของผลงานและการเรียนรู้ของผู้ที่ใช้งาน AI ด้วยเช่นกัน Ouyang และ Jiao (2021) ได้จัดแบ่งระดับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (ผู้ใช้งาน AI) กับ AI เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ 1) AI เป็นผู้นำ �ทาง ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูล (AI-directed, Learner-as-recipient) โดย AI เปรียบเสมือนผู้นำ �ในการเรียนรู้ และ ผู้เรียนใช้บริการจาก AI ในการแก้ปัญหา การสร้างความรู้ความเข้าใจ 2) AI เป็นผู้ช่วย ผู้เรียนเป็นผู้ทำ �งานร่วมกัน (AI-supported, Learner-as-collaborator) โดย AI เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยเหลือ ในขณะที่ผู้เรียนทำ �งานร่วมกับระบบและเป็นผู้ที่มุ่งเป้าไปที่กระบวนการ เรียนรู้ของตนเองและ 3) AI เป็นผู้สร้างเสริม ผู้เรียนเป็นผู้นำ � (AI-empowered, Learner-as- leader) โดย AI เปรียบเสมือนเป็นผู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ บรรลุศักยภาพการทำ �งานร่วมกับ AI ขั้นสูงสุด โดย AI มีการคำ �นึงถึง ข้อจำ �กัด ความคาดหวัง และบริบทของมนุษย์ และผู้เรียนเองเป็นผู้รับผิดชอบ ความเสี่ยงจากการตัดสินใจของ AI รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ระหว่างผู้เรียนและ AI อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเขียนบทความครั้งนี้ ผู้เขียนประเมินตนเองว่าปฏิสัมพันธ์ ของผู้เขียนและ Gemini อยู่ในกระบวนทัศน์ที่ 2 (AI-supported, Learner- as-collaborator) เป็นการทำ �งานโดยมี AI เป็นผู้ช่วยในการทำ �งานร่วมกัน เหมือนชื่อบทความนี้ ทั้งนี้ หากถามว่าผู้เขียนชอบการทำ �งานร่วมกับ AI หรือไม่ หรือครั้งต่อไปในการทำ �งาน ผู้เขียนสนใจจะใช้ AI เป็นผู้ช่วยต่อ หรือไม่ คิดว่าผู้อ่านคงเดาคำ �ตอบได้ไม่ยาก ภาพจาก: https://www.kimbley.com/gemini
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5