นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
34 นิตยสาร สสวท. สำ � นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้วิทยาการ คำ �นวณพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ Coding ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะการสอนวิทยาการคำ �นวณ (Plugged Coding) ส่วนใหญ่ จะเป็นการเขียนคำ �สั่งและแสดงผลในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งนักเรียนคุ้นเคย จึงทำ �ให้กิจกรรมไม่ท้าทายอีกต่อไป ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ ออกแบบการนิเทศการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ ประกอบกับการนำ �ประสบการณ์ จากการเป็นคณะผู้พิจารณามาตรฐานตัวชี้วัดสาระเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เป็นคณะผู้จัดทำ �มาตรฐานสะเต็มศึกษาแห่งชาติ และเป็นผู้ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ด้านการจัดการ เรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ จึงได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณ ดังนี้ 1. ครูต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้มีความพร้อม เนื่องจากครูยังขาดทักษะความรู้ในการสอนหุ่นยนต์อัตโนมัติ ซึ่งจำ �เป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นความต้องการเร่งด่วนในการพัฒนา การศึกษาด้านนี้ 2. การเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ สถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดแคลนทรัพยากรที่จำ �เป็นสำ �หรับการจัดการเรียนรู้ วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ การสนับสนุนทรัพยากรเหล่านี้เป็นสิ่งจำ �เป็นในการเข้าถึงการจัดการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน 3. การออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับทุกช่วงอายุ ระดับความสามารถ และความสนใจของนักเรียน เพื่อให้การเรียนรู้ ในเรื่องของ AI และสมองกลฝังตัว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การสร้างแรงจูงใจ ซึ่งการเรียนรู้ Coding ในรูปแบบเดิม อาจไม่ท้าทายและน่าเบื่อสำ �หรับนักเรียน การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติจึงเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ ที่สร้างสรรค์ และมีแรงจูงใจ เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและมีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำ �เนินงาน จุดประสงค์ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติในโรงเรียนสังกัด สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 2) พัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ 3) พัฒนาห้องเรียนคุณภาพ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 (การพัฒนาห้องเรียนต้นแบบด้านการจัดการเรียนการสอน วิทยาการคำ �นวณด้วยกิจกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ และมีผลงานเชิงประจักษ์สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ หน่วยงานอื่นได้) เป้าหมายเชิงปริมาณ 1) ครูผู้สอนสาระเทคโนโลยี จำ �นวน 20 คน 2) โรงเรียนสังกัด สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 จำ �นวน 10 โรงเรียน เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1) ครูผู้สอนสาระเทคโนโลยีสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) โรงเรียนสังกัด สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 บริหารจัดการส่งเสริมการเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสำ �คัญในชีวิตประจำ �วัน การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องสำ �คัญอย่างยิ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำ �คัญของการเสริมสร้างทักษะ ด้านเทคโนโลยีให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับ Coding หรือการเขียนโปรแกรม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะนี้เพื่อให้เยาวชนไทยมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวเข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5