นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

36 นิตยสาร สสวท. 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณเพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ วิทยาการคำ �นวณ พบว่าแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากกิจกรรมที่ครูจัดให้ไม่ท้าทายและไม่น่าสนใจ 2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ลำ �ดับความสำ �คัญของปัญหา และระบุปัญหา เพื่อให้ได้หัวข้อการพัฒนาที่ ตรงกับปัญหาหรือความต้องการของครู 3) กำ �หนดประเด็นการนิเทศและกำ �หนดวัตถุประสงค์การนิเทศ เพื่อกำ �หนดหัวข้อนิเทศและขอบเขตการนิเทศอย่าง มีเป้าหมาย 4) ออกแบบการนิเทศ สร้างเครื่องมือนิเทศ และจัดทำ �แผนการนิเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการนิเทศ และใช้เป็นแนวทาง การนิเทศอย่างเป็นระบบ 5) ประชาสัมพันธ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติตามความสนใจ/สมัครใจ เพื่อ ให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติอย่างแท้จริง 6) ดำ �เนินการพัฒนาครูผู้สอนวิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และ พัฒนาทักษะด้านหุ่นยนต์อัตโนมัติ 7) ครูนำ �กิจกรรมลงสู่ห้องเรียน โดยมีการนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลการ เรียนรู้ เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 8) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่จัดการเรียนรู้ได้ประสบความสำ �เร็จเพื่อสร้างขวัญกำ �ลังใจในการพัฒนากระบวนการ จัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติต่อไป 9) รายงานผลการนิเทศเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลงนามรับรองผลการนิเทศ จัดทำ �รูปเล่มเพื่อใช้เป็นร่องรอยหลักฐาน การนิเทศ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ 10) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิชาการ วางแผนดำ �เนินการในวงรอบต่อไป เพื่อขยายผลให้ผู้ที่สนใจนำ �ไปประยุกต์ใช้ ตามบริบทของตนเอง และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แผนการนิเทศ 2. แบบสังเกตกระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยกิจกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ 3. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศ ผลการดำ �เนินการ 1. ผลงานครู ครูสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาการคำ �นวณด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ มีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการ ออกแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ จัดทำ �แผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา จัดหาและสร้างสื่อ จัดการเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ จัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยครูทำ �หน้าที่ Coaching นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง มีการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ให้แก่

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5