นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 41 การเขียนบาร์โมเดลเป็นการใช้ยุทธวิธี การแก้ปัญหาด้วยการวาดภาพร่วมด้วย จากแผนภาพ จะพบว่า ผลต่างของความยาวของบาร์โมเดลสองแท่ง เท่ากับความยาวของยางลบ 4 ก้อน หาได้จาก 72 - 60 = 12 นั่นคือ ความยาวของยางลบ 4 ก้อน เท่ากับ 12 เซนติเมตร จะหาความยาวของยางลบแต่ละก้อนได้จาก 12 ÷ 4 = 3 ดังนั้น ยางลบมีความยาวก้อนละ 3 เซนติเมตร ตัวอย่างที่ 2 นักกีฬาสีฟ้า สีแดง สีเขียว และสีเหลือง แข่งฟุตบอลแบบพบกันหมด (นักกีฬาแต่ละสีจะต้องแข่งฟุตบอล กับสีอื่นทุกสี) ซึ่งในการแข่งขันจะไม่มีการเสมอ ผลการแข่งขันพบว่า สีฟ้าชนะ A ครั้ง สีแดงชนะ B ครั้ง สีเขียวชนะ C ครั้ง และสีเหลืองชนะ D ครั้ง หา A + B + C + D (ปรับจาก Ng, 2008, หน้า 29) เราอาจใช้ยุทธวิธีการเปลี่ยนรูปประโยคป ญหา ในขั้นทำ �ความเข้าใจปัญหา เมื่อเราทราบว่าการแข่งขันนี้จะไม่มี การเสมอ ดังนั้น จำ �นวนครั้งที่แข่งชนะทั้งหมดจะเท่ากับจำ �นวนครั้งที่แข่งขันทั้งหมดนั่นเอง เราจึงสามารถเปลี่ยน สิ่งที่โจทย์ถาม: หา A + B + C + D หรือจำ �นวนครั้งที่แข่งชนะทั้งหมด เป็นหา จำ �นวนครั้งที่แข่งขันทั้งหมด การหาคำ �ตอบอาจคิดได้ดังนี้ เขียนแจกแจงรายการเพื่อแสดงการแข่งขันแบบพบกันหมด ได้ดังนี้ ฟ้า-แดง ฟ้า-เขียว ฟ้า-เหลือง จำ �นวนครั้งที่แข่งขัน = 3 แดง-เขียว แดง-เหลือง จำ �นวนครั้งที่แข่งขัน = 2 เขียว-เหลือง จำ �นวนครั้งที่แข่งขัน = 1 จะได้ว่า จำ �นวนครั้งที่แข่งขันทั้งหมด = 3 + 2 + 1 = 6 ดังนั้น A + B + C + D = 6 2. การทำ �ปัญหาให้ง่าย (Simplify the Problem) สำ �หรับปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เป็นปัญหาใหญ่หรือยากสำ �หรับผู้เรียน ปัญหานั้นอาจเกี่ยวกับจำ �นวนที่มาก หรือมีความซับซ้อนยากต่อการทำ �ความเข้าใจ ยุทธวิธีการทำ �ปัญหาให้ง่ายจะเป็นการลดความซับซ้อนของปัญหาโดยการ ปรับเปลี่ยนโจทย์ เช่น อาจแบ่งปัญหาเป็นกรณีย่อยๆ ที่ง่ายต่อการหาคำ �ตอบ ลดจำ �นวนที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัญหา หรือเปลี่ยนให้ปัญหาอยู่ในรูปที่คุ้นเคย นอกจากนี้ วิธีการหนึ่งในการทำ �ปัญหาให้ง่ายคือ การเปลี่ยนมุมมอง โดยลองเปลี่ยน สถานการณ์ วิธีคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหาให้แตกต่างไป เพื่อให้แก้ปัญหาได้ ลองดูตัวอย่างปัญหาที่สามารถใช้ยุทธวิธีการทำ �ปัญหาให้ง่าย ดังต่อไปนี้ สีนักกีฬา จำ �นวนครั้งที่แข่งชนะ ฟ้า A แดง B เขียว C เหลือง D

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5