นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 43 ส่วนที่เป็นสีดำ �มีพื้นที่เท่ากับครึ่งวงกลม 154 ÷ 2 = 77 ดังนั้น ส่วนที่เป็นสีดำ �มีพื้นที่ 77 ตารางเซนติเมตร 3. การแบ่งปัญหาเป็นปัญหาย่อย (Solve Part of the Problem) ยุทธวิธีการแบ่งปัญหาเป็นปัญหาย่อยเป็นการแบ่งปัญหาที่มีความซับซ้อนหลายขั้นตอนเป็นปัญหาย่อยๆ หรือ เป็นส่วนๆ แล้วแก้ปัญหาแต่ละส่วนแยกจากกัน โดยแก้ส่วนที่ง่ายกว่าก่อน แล้วจึงแก้ปัญหาทั้งหมดขั้นตอนสุดท้าย ซึ่ง จะมีประโยชน์กับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยตรงจากข้อมูลที่กำ �หนดหรือแก้ปัญหาได้ยาก ลองดูตัวอย่างปัญหาที่สามารถใช้ยุทธวิธีการแบ่งเป็นปัญหาย่อย ดังต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 5 มานะต้องวางตั้งกระป๋องน้ำ �อัดลมที่มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกเพื่อ สร้างพีระมิดฐานสามเหลี่ยมที่มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร และกระป๋องน้ำ �อัดลมที่ใช้ มีความสูง 12 เซนติเมตร อยากทราบว่ามานะต้องใช้กระป๋องน้ำ �อัดลมอย่างน้อยที่สุด กี่กระป๋องจึงจะวางได้ตามที่กำ �หนด (ปรับจาก Ng, 2008, หน้า 44) เราอาจใช้ยุทธวิธีการแบ่งปัญหาเป็นปัญหาย่อย ในขั้นทำ �ความเข้าใจปัญหาพบว่าการจะหาส่วนที่โจทย์ถาม ต้องใช้กระป๋องน้ำ �อัดลมอย่างน้อยที่สุดกี่กระป๋องจึงจะวางได้ตามที่กำ �หนด เราต้องหาจำ �นวนชั้นที่จะวางตั้งกระป๋องน้ำ �อัดลม ให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร ก่อน แล้วจึงหาจำ �นวนกระป๋องน้ำ �อัดลมที่จะใช้ได้ การหาคำ �ตอบอาจคิดได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 หาจำ �นวนชั้นที่จะวางตั้งกระป๋องน้ำ �อัดลมให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร ซึ่งหาได้จากความสูงที่น้อยที่สุด ของพีระมิดฐานสามเหลี่ยมที่ต้องการ ÷ ความสูงของกระป๋องน้ำ �อัดลม 100 ÷ 12 = 8.33 ดังนั้น จำ �นวนชั้นที่จะวางตั้งกระป๋องน้ำ �อัดลม เท่ากับ 9 ชั้น ขั้นตอนที่ 2 หาจำ �นวนกระป๋องน้ำ �อัดลมที่จะใช้ ซึ่งเราอาจเริ่มจากวาดรูปการวางเรียงกระป๋องน้ำ �อัดลมในชั้นต่างๆ จาก มุมมองด้านบน (Top View) และพิจารณาหาแบบรูปของจำ �นวนกระป๋องน้ำ �อัดลมที่วางเรียงในแต่ละชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1 (บนสุด) ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 9 (ล่างสุด) ..... ..... จำ �นวนกระป๋อง 1 3 6 10 ตัวอย่างที่ 5 ใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาด้วย การวาดภาพและการหาแบบรูป ร่วมด้วย เมื่อหาความสัมพันธ์ของแบบรูปได้แล้ว จะสามารถหาจำ �นวนกระป๋องน้ำ �อัดลมได้ 1 + 3 + 6 + 10 + 15 + 21 + 28 + 36 + 45 = 165 ดังนั้น มานะต้องใช้กระป๋องน้ำ �อัดลมอย่างน้อยที่สุด 165 กระป๋อง จึงจะวางได้ตามที่กำ �หนด ตัวอย่างที่ 6 แม่มีกระถางต้นไม้ที่มีลักษณะและขนาดดังรูป แม่ต้องการใส่ดินให้ต่ำ �กว่า ขอบกระถาง 5 เซนติเมตร ทั้งสองส่วน ถ้าดิน 1 ถุง มีปริมาตร 10,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องใช้ดินอย่างน้อยกี่ถุง (สสวท., 2563, หน้า 146)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5