นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 49 Buchanan, R. (1992). Wicked Problems in Design Thinking. Design Issues, 8 (2): 5-21. Brown, T. (2009). Change by Design: how design thinking creates new alternatives for business and society . Harper Business. Dorst, K. (2011). The Core of ‘Design Thinking’ and its Application. Design Studies, 32 (6): 521-532. IDEO. (2018). IDEO Design Thinking. [online] IDEO | Design Thinking. Retrieved October 25, 2024, from https://designthinking.ideo.com/. Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: experience as the source of learning and development . Prentice-Hall. Kolko, J. (2015). Design Thinking Comes of Age. Harvard Business Review. Retrieved October 25, 2024, from https://hbr.org/2015/09/design-thinking-comes-of-age. Razzouk, R. & Shute, V. (2012). What Is Design Thinking and Why Is It Important?. Review of Educational Research, 82 (3): 330-348. Silva, E. (2009). Measuring Skills for 21 st -Century Learning. Phi Delta Kappan, 90 (9): 630-634. Stanford d.school. (2010). An Introduction to Design Thinking Process Guide. Retrieved October 25, 2024, from https://dschool.stanford.edu/resources/. บรรณานุกรม นักเรียนอาจรู้สึกกดดันหรือท้อถอยหากไม่เข้าใจว่าความล้มเหลวคือส่วนหนึ่ง ของการเรียนรู้ ทั้งนี้ กระบวนการนี้ต้องอาศัยการทำ �งานร่วมกันเป็นทีมซึ่ง อาจมีปัญหาจากการสื่อสารหรือการแบ่งงานที่ไม่เท่าเทียม อีกทั้งการจัดการ เวลาที่ไม่ดีอาจทำ �ให้งานไม่เสร็จตามกำ �หนด และเมื่อดำ �เนินการไประยะหนึ่ง นักเรียนบางคนอาจรู้สึกสับสนหรือไม่มั่นคงเนื่องจากกระบวนการคิดเชิง ออกแบบมีกระบวนการทำ �งานไม่เป็นเส้นตรง ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถ ปรับเปลี่ยนตามข้อมูลใหม่ๆ นอกจากนี้ การทำ �ให้นักเรียนสามารถเลือก ปัญหาเพื่อการแก้ไขมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ �วัน ซึ่งบางครั้งนักเรียน อาจมีความยากลำ �บากในการระบุปัญหาที่สำ �คัญจริงๆ หรือการพัฒนา แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ การให้ความรู้พื้นฐานสำ �คัญเกี่ยวกับ กระบวนการคิดเชิงออกแบบผ่านการอภิปราย สาธิต หรือการดูตัวอย่างจาก โครงการจริงจะช่วยให้นักเรียนคุ้นเคยและเข้าใจขั้นตอนต่างๆ การสนับสนุน ทางจิตใจให้นักเรียนเห็นว่าความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้จะช่วย เพิ่มความมั่นใจ การส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกเพื่อให้รับมือกับความไม่แน่นอน และมีความยืดหยุ่นในแนวคิดจะช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น รวมถึง การสนับสนุนการทำ �งานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพโดยการฝึกทักษะการฟัง การอภิปรายเชิงสร้างสรรค์ การแบ่งงานที่ชัดเจนและยุติธรรม พร้อมทั้งการ ตั้งกฎเกณฑ์ของทีม นอกจากนี้ การวางแผนการทำ �งานที่กำ �หนดเป้าหมาย และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจนจะช่วยให้นักเรียนจัดการเวลา ได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตจริง ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนสำ �รวจปัญหาโดยการสังเกตและ สัมภาษณ์บุคคลในบริบทที่นักเรียนคุ้นเคย พร้อมชี้แนะด้วยการตั้งคำ �ถาม เชิงลึกเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ การรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี การ สนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งเพื่อนครู นักเรียน และฝ่ายบริหารของ โรงเรียน การเปิดใจในการเรียนรู้ใหม่ๆ เป นสิ่งสำ �คัญที่ทำ �ให นักเรียนสามารถ นำ �กระบวนการคิดเชิงออกแบบไปใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทสรุป การนำ �กระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในชุมนุมนักประดิษฐ์เป็น แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ และการทำ �งานร่วมกันของนักเรียน กระบวนการนี้เน้นการให้ความสำ �คัญกับ ผู้ใช้งาน โดยเริ่มจากการทำ �ความเข้าใจปัญหา การนิยามปัญหา การระดม ความคิด การสร้างต้นแบบ และการทดสอบ ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้พัฒนา ความคิดที่เป็นระบบ และสามารถทดลองแก้ปัญหาในหลากหลาย มุมมอง การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในชุมนุมนักประดิษฐ์ ยังสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง นักเรียน ได้พัฒนาต้นแบบและทดสอบแนวทางแก้ปัญหาที่สามารถนำ �ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำ �วันหรือแก้ปัญหาภายในโรงเรียนของตน กระบวนการนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การรับมือกับความล้มเหลว การปรับปรุง วิธีการทำ �งาน และการทำ �งานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การนำ �กระบวนการนี้ไปใช้ยังเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรค เช่น การจำ �กัดเวลา ความไม่คุ้นเคยกับกระบวนการ ความขัดแย้ง ในการทำ �งานเป็นทีม ทรัพยากรที่จำ �กัด การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จำ �เป็นต้องมีการจัดการเวลา การสร้างบรรยากาศการทำ �งานที่เปิดกว้าง รวมถึงการสนับสนุนจากครูที่ปรึกษาและการมีทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อให้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถดำ �เนินไปได้อย่างราบรื่นและมี ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการสอน ชุมนุมนักประดิษฐ์มีส่วนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะที่จำ �เป็นใน ศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านการคิดเชิงวิพากษ์ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และ การทำ �งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำ �คัญในการเตรียม ความพร้อมสำ �หรับอนาคตต่อไป มาจาก: https://blog.howareyou.work/what-is-the-design- thinking-process/

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5