นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
50 นิตยสาร สสวท. สุวินัย มงคลธารณ์ | ผู้ชำ �นาญ ฝ่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สสวท. | e-mail: smong@ipst.ac.th หญ้าทะเล ไม่ใช่แค่อาหารของพะยูน แต่เป็น แหล่งกักเก็บ บลูคาร์บอน ที่มีประสิทธิภาพ สถานการณ์ภัยพิบัติและปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น การลดการปล่อย แก๊สเรือนกระจกจึงเป็นสิ่งสำ �คัญและเร่งด่วนที่ไม่อาจละเลยได้ ทุกคนจำ �เป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลา อันใกล้ ร่วมมือกันและลงมือช่วยกันลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างจริงจัง การลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การ ลดการเผาไหม้ การใช้รถยนต์เท่าที่จำ �เป็น การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอน ตลอดจนการนำ �เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศหรือการกักเก็บคาร์บอนทั้งในต้นไม้ พื้นดิน และมหาสมุทรในวิธีต่างๆ นอกจากนี้ ยังมี “แหล่งกักเก็บคาร์บอน” ตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า “บลูคาร์บอน (Blue Carbon) หรือคาร์บอนสีน้ำ �เงิน” หรือ คาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพและปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นกุญแจสำ �คัญ ในการช่วยปกป้องโลกและอนาคตของเรา บ ลูคาร์บอน หมายถึง คาร์บอนที่ถูกดูดซับและกักเก็บไว้โดย มหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่ง เช่น ป่าชายเลน ที่ราบน้ำ �ท่วมถึง และแหล่งหญ้าทะเล ระบบนิเวศเหล่านี้มีบทบาทสำ �คัญทำ �หน้าที่ ดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและกักเก็บคาร์บอน ไว้ในรูปของชีวมวลและตะกอนในชั้นดิน บลูคาร์บอนจะช่วยลดปริมาณ คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ ชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วย รักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่ที่สามารถกักเก็บบลูคาร์บอนกระจาย ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 185 ล้านเฮกตาร์ และ มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่า 30,000 Tg C (1 Tg C เท่ากับ 1 ล้านตันคาร์บอน) หรือประมาณ 3 หมื่นล้านล้านตันคาร์บอน ทำ �ให้ สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ถึง 141 - 146 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในขณะเดียวกันแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้มีป่าชายเลนมากที่สุด และจัดเป็นพื้นที่ที่มีป่าชายเลนมากที่สุดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก (Blue Carbon Society, 2561) โดยประเทศไทยจะพบ พื้นที่ป่าชายเลน (เส้นสีดำ �) บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก และพื้นที่หญ้าทะเล (เส้นสีเขียวอ่อน) บริเวณภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศ (ภาพ 1) บลูคาร์บอนจากป่าชายเลน พื้นที่ชุ่มน้ำ �ชายฝั่งที่มีน้ำ �ขึ้นลง และหญ้าทะเล (เรียงจากซ้ายไปขวา) มีความสามารถดูดซับและกักเก็บ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกระบวนการนี้เริ่มจากพืชดูดซับแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง (ลูกศร สีเขียว) และถูกกักเก็บในชีวมวลของพืชและดิน (ลูกศรสีแดง) แม้ว่า คาร์บอนส่วนหนึ่งจะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากการหายใจและการ ย่อยสลาย (ลูกศรสีดำ �) แต่การเก็บสะสมคาร์บอนในระยะยาวช่วยลด ปริมาณแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้ (ภาพ 2) ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ เลขาธิการ มูลนิธิโลกสีเขียว และผู้ร่วมก่อตั้ง ReReef กล่าวว่า ระบบนิเวศชายฝั่งและ ทะเล โดยเฉพาะป่าชายเลน หญ้าทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำ �ชายฝั่งทะเลประเภท อื่นๆ มีบทบาทสำ �คัญอย่างยิ่งในการช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จาก ชั้นบรรยากาศ โดยงานวิจัย พบว่า “ป่าชายเลนสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ มากกว่าป่าบกถึง 10 เท่า ในขณะที่หญ้าทะเลกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่า ภาพ 1 การกระจายของระบบนิเวศบลูคาร์บอนทั่วโลก ที่มา: The Blue Carbon Initiative (2019) และ Carolyn J. Ewers Lewis (2019)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5