นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 51 ภาพ 2 การดูดซับและกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศบลูคาร์บอน ที่มา: ดัดแปลงจาก Ahalya A and Jin Soon Park (2019) ภาพ 3 หญ้าทะเล ที่มา: ภาพ Damsea/Shutterstock จาก The International Journal Rural 21 (2022) ป่าเขตร้อนถึง 35 เท่า” ดังนั้น ระบบนิเวศชายฝั่งจึงเป็นแหล่งดูดซับ คาร์บอนชั้นดี เนื่องจากเป็นพืชโตเร็วและสามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ใน ดินตะกอนที่ทับถมสะสมอยู่ได้นับพันๆ ปี ถ้าไม่ถูกรบกวน ต่างจากพืชบนบก (Green Carbon) ที่กักเก็บคาร์บอนไว้ในชีวมวลและปลดปล่อยกลับมา เมื่อต้นไม้ตาย ซึ่งมีอายุการดูดซับคาร์บอนได้สูงสุดประมาณ 50 ปีเท่านั้น (Innomatter, 2565) รู้จักหญ้าทะเล กุญแจสำ �คัญต่อสู้ภาวะโลกร้อน หญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารสำ �คัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตพะยูน ซึ่ง เป็นสัตว์ทะเลที่น่ารักและหายาก หญ้าทะเลมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis) หญ้ากุยฉ่ายทะเล (Halodule uninervis) และหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) ซึ่งล้วนเป็นแหล่งอาหารอัน อุดมสมบูรณ์มีคุณค่าทางอาหารสูง พะยูนจะเลือกกินเฉพาะใบอ่อนของ หญ้าทะเลเหล่านี้เนื่องจากได้รับพลังงานที่จำ �เป็นต่อการดำ �รงชีวิตและ การเจริญเติบโต นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ � เป็นที่วางไข่ ให้กับสัตว์ทะเลขนาดเล็ก เป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งหลบซ่อนศัตรูของ สัตว์ทะเลนานาชนิด รวมไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เต่าทะเล ที่ต้องพึ่งพา ระบบนิเวศหญ้าทะเลด้วย หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มพืชมีดอกหรือพืชทะเลที่มี โครงสร้างคล้ายพืชบก มีลักษณะโดดเด่นแตกต่างไปจากพืชดอกทั่วไป หญ้า ทะเลเกือบทุกชนิด มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ใต้น้ำ � ทั้งการสืบพันธุ์ ออกดอก ผล เมล็ด หรือเจริญเติบโตใต้ท้องทะเล ซึ่งหญ้าทะเลสามารถปรับเปลี่ยน โครงสร้างและการดำ �รงชีวิตให้อยู่รอดได้ในทะเล สืบพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ โดยการสืบพันธุ์แบบ ไม่อาศัยเพศ หญ้าทะเลจะแตกกิ่งก้านหรือยอดใหม่จากเหง้าหรือไรโซม (Rhizome) ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หญ้าทะเลจะผลิตดอกและมีการ ถ่ายละอองเกสรโดยใช้น้ำ �และคลื่นลมเป็นตัวพัดพา จากนั้นเมื่อมีการ ปฏิสนธิ ดอกตัวเมียจะพัฒนาเป็นผลซึ่งภายในมีเมล็ดที่ใช้ในการแพร่ขยายพันธุ์ ต่อไปได้ (คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2560) ภาพ 4 โครงสร้างของหญ้าทะเล ที่มา : ดัดแปลงจาก คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2560) โครงสร้างของหญ้าทะเล • ราก (Root) เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุ จากในดินทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำ �ให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง • เหง้า (Rhizome) เป็นส่วนของลำ �ต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้น ผิวดิน • ใบ (Leaf Blade) เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อ สร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลถูกนำ �มาใช้ เป็นลักษณะสำ �คัญในการจำ �แนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเลแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตน้ำ �ตื้นชายฝั่ง ทะเลทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ประเทศไทยพบหญ้าทะเล 13 ชนิด จาก 60 ชนิดที่พบทั่วโลก แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มใบกลมยาว พบ 8 ชนิด และกลุ่มใบแบนสั้นรูปรีพบ 5 ชนิด แหล่งหญ้าทะเลใน ประเทศไทยสามารถแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตน้ำ �ตื้น ชายฝั่งทะเลรวมถึงเกาะแก่งต่างๆ ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดย พบความหลากหลายของชนิดหญ้าทะเลทางฝั่งทะเลอันดามันมากกว่าทาง ฝั่งอ่าวไทย (คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2565) หญ้าทะเลเป็นแหล่งกักเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มี ประสิทธิภาพ แม้มีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงปีละร้อยละ 10 (McLeod et al., 2011) โดยกักเก็บคาร์บอนในรูปแบบชีวมวลผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืช และการดักจับตะกอนดินที่ไหลมาจากระบบนิเวศอื่นๆ ไว้ใต้พื้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อยมาก เมื่อหญ้าทะเลตายจะทับถมกลายเป็น ตะกอนใต้ผืนทะเล ตะกอนที่ปราศจากออกซิเจนนี้จะดักจับกับคาร์บอน ได้นาน (ไอกรีน อิดิตเตอร์, 2562) โดยในพื้นที่ที่เป็นดินตะกอนโคลนจะ กักเก็บคาร์บอนไว้ได้สูงกว่าพื้นที่ดินตะกอนทราย จึงเป็นแหล่งกักเก็บ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5