นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

52 นิตยสาร สสวท. ภาพ 5 หญ้าทะเลในน่านน้ำ �ไทย 13 ชนิด ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม (2565) บลูคาร์บอนได้สูงกว่า (Seung Hyeon Kim et al., 2022) (ภาพ 6) ทำ �ให้คาร์บอนหลุดจากวัฏจักร ไม่ย่อยสลาย ไม่เพิ่มแก๊สเรือนกระจก ช่วย ดักตะกอนจนเกิดเป็นพื้นที่กว้างให้ป่าชายเลนขยายตัวออกมาได้ และยังช่วย ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงยังมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ � ให้ดีขึ้น ป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี และช่วยเพิ่มความ หลากหลายทางชีวภาพ (BrandThink, 2566) ดังนั้น แนวหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งของประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทยจึงมีบทบาทสำ �คัญสำ �หรับวัฏจักรคาร์บอนเนื่องจากสามารถ ดูดซับคาร์บอนที่อยู่ในบรรยากาศได้ดี ข้อมูลทางวิชาการรายงานว่า ทะเล และมหาสมุทรสามารถกักเก็บคาร์บอน ทำ �หน้าที่เป็น Carbon Sink ในการกักเก็บและหมุนเวียนคาร์บอนที่อยู่ในโลกได้ร้อยละ 93 (González et al., 2008) ภาพ 6 การกักเก็บคาร์บอนในบริเวณหญ้าทะเลที่มีพื้นดินตะกอนแตกต่างกัน ที่มา : Seung Hyeon Kim et al. (2022) การศึกษาหญ้าทะเลและวิธีการกักเก็บคาร์บอนในหญ้าทะเล (สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2567) หากนักเรียนสนใจศึกษาวิธีการวางแผนเก็บตัวอย่างหญ้าทะเล และการวิเคราะห์องค์ประกอบชนิดและความสมบูรณ์ของหญ้าทะเล เช่น ร้อยละการปกคลุมและความหนาแน่น การกักเก็บคาร์บอนในหญ้าทะเล และการกักเก็บคาร์บอนในตะกอนดิน นักเรียนสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ในคู่มือการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในแหล่งหญ้า ทะเลของประเทศไทย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ดัง QR Code) ภาวะคุกคามต่อหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเลเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่ถูกคุกคามมากที่สุดของโลก โดยทุกปีพื้นที่หญ้าทะเลทั่วโลกลดลงถึงร้อยละ 1.5 และพบว่าในช่วง ศตวรรษที่ผ่านมา พื้นที่หญ้าทะเลทั่วโลกได้สูญเสียไปแล้วประมาณร้อยละ 29 อย่างไรก็ตาม สำ �หรับประเทศไทย จากการสำ �รวจของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีพื้นที่หญ้า ทะเล 256 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมีพื้นที่เพียง 190 ตารางกิโลเมตร แหล่งหญ้าทะเลบางแห่งมีสภาพดีขึ้น แต่บางแห่งก็ยังคงถูก คุกคามจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งความเสื่อมโทรม ของแหล่งหญ้าทะเลมีสาเหตุที่สำ �คัญ ได้แก่ (คลังความรู้ทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง, 2567) 1) กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การพัฒนาบริเวณชายฝั่งพื้นที่ ในทะเลที่ทำ �ให้มีตะกอนในน้ำ �ทะเลมากขึ้น เช่น การขุดลอกร่องน้ำ � การเดินเรือ การสัญจรทางน้ำ � การสร้างสะพานที่จอดเรือ การทำ �ประมงบางประเภท การ ปล่อยน้ำ �ทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ ทำ �ให้คุณภาพน้ำ �ทะเลเสื่อมโทรม หญ้าทะเล ฟื้นตัวได้ช้าลงจนอาจทำ �ให้พื้นทะเลเปลี่ยนสภาพจนไม่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของหญ้าทะเล 2) ตามธรรมชาติ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ภาวะโลกร้อน ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำ �ในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วง ครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 เพิ่มสูงขึ้น โดยอุณหภูมิน้ำ �ทะเลที่สูงมากกว่าภาวะ ปกติจะมีผลต่อวงจรชีวิตของหญ้าทะเลและมีความเครียดทำ �ให้การกระจายตัว ของหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ การโผล่พ้นน้ำ �ทะเลนานๆ อุณหภูมิ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5