นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 53 ร้อยละ 4 เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในรายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงคงที่ร้อยละ 51 สมบูรณ์มากขึ้น ร้อยละ 39 สมบูรณ์ลดลง ตามฤดูกาล ร้อยละ 8 และมีการเสื่อมโทรมลงร้อยละ 2 (ภาพ 8) และแสงแดดที่เพิ่มขึ้นทำ �ให้หญ้าทะเลแห้ง ความร้อนมีผลทำ �ให้หญ้าทะเล ตายได้ (Frederick T. Short and Hilary A. Neckles, 1999) 3) ภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น เหตุการณ์สึนามิ พายุรุนแรง สถานภาพแหล่งหญ้าทะเลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 (ระบบเตือนภัยท่องเที่ยวทางทะเล, 2567) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้สำ �รวจและติดตาม สถานภาพแหล่งหญ้าทะเล ทั้งในพื้นที่ที่เป็นแหล่งหญ้าทะเลในปัจจุบัน แหล่งที่เคยมีรายงานการสำ �รวจพบ และแหล่งใหม่นอกเหนือจากที่เคย สำ �รวจพบแม้ว่าจะไม่ได้เป็นแหล่งใหญ่ก็ตาม โดยในปี พ.ศ. 2565 พบ หญ้าทะเลมีพื้นที่รวม 103,580 ไร่ แบ่งเป็นฝั่งอ่าวไทย 31,954 ไร่ (31%) ฝั่งทะเลอันดามัน 71,626 ไร่ (69%) คิดเป็นร้อยละ 64 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งหญ้าทะเลของประเทศ (160,628 ไร่) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากพื้นที่ หญ้าทะเลที่รายงานไว้ในปี พ.ศ. 2564 (99,325 ไร่) ครอบคลุม 17 จังหวัด ชายฝั่งทะเล ประกอบด้วยฝั่งอ่าวไทย 11 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ภาพรวมแหล่งหญ้าทะเลของประเทศไทย พบว่า มีสถานภาพ สมบูรณ์ดีมาก ร้อยละ 4 สมบูรณ์ดี ร้อยละ 25 สมบูรณ์ปานกลาง ร้อยละ 36 และสมบูรณ์เล็กน้อย ร้อยละ 35 โดยจังหวัดจันทบุรี หญ้าทะเลมี สถานภาพสมบูรณ์ดีมากที่สุด และจังหวัดภูเก็ตมีสถานภาพสมบูรณ์เล็กน้อย ที่สุด (ภาพ 7) ภาพ 7 สถานภาพแหล่งหญ้าทะเลปี พ.ศ. 2565 แยกรายจังหวัด และร้อยละการ ปกคลุมเฉลี่ยของแต่ละจังหวัด จากการติดตามสถานภาพของแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2553 ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของแหล่งหญ้าทะเลตามแหล่งต่างๆ ในเชิงพื้นที่ และร้อยละการปกคลุมพื้นที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2554 - 2557 มีแนวโน้มลดลง และในปี พ.ศ. 2558 - 2565 พื้นที่หญ้าทะเลค่อนข้าง คงที่ ดังนั้น สถานภาพแหล่งหญ้าทะเลจากภาพรวมของประเทศ พบว่า โดยรวมมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 99,325 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 เป็น 103,580 ไร่ ในปี พ.ศ. 2565 หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น ภาพ 8 การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของแหล่งหญ้าทะเล เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2564 ภาพ 9 สถานภาพเหง้าของหญ้าทะเลที่อ่าวโล๊ะปาไล จังหวัดพังงา เกิดการเน่า เปื่อยและตาย เนื่องจากปรากกฏการณ์โลกร้อน ที่มา: GreenXpress (2567) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2567 เป็นปีแรกที่ปรากกฏการณ์โลกร้อนส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อระบบนิเวศ หญ้าทะเล ทำ �ให้เหง้าของหญ้าทะเลเกิดการเน่าเปื่อยและตายลง เนื่องจาก อุณหภูมิของดินและน้ำ �ทะเลสูงกว่าปกติ ทำ �ให้หญ้าทะเลเกิดการอืดแห้งนาน และเน่าตาย นอกจากนี้ ระดับน้ำ �ทะเลต่ำ �กว่าปกติถึง 30 - 50 เซนติเมตร ทำ �ให้หญ้าทะเลโผล่พ้นน้ำ �ทะเลนานมากกว่าหนึ่งชั่วโมง จึงอืดแห้งเน่าตาย ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัตว์ทะเลที่พึ่งพาหญ้าทะเลแหล่งอาหารที่สำ �คัญ เช่น พะยูนและเต่าทะเล (Greennews, 2567) นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัย ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยผลการสำ �รวจแหล่งหญ้าทะเลบางส่วนในฝั่ง ทะเลอันดามัน ปี พ.ศ. 2567 พบว่า จังหวัดตรังมีสถานภาพหญ้าทะเล ย่ำ �แย่ที่สุด มีค่าเฉลี่ยการปกคลุมหญ้าทะเลเหลือเพียง 5% เป็นผลให้พะยูน ต้องย้ายถิ่นไปยังแหล่งหญ้าอื่น ซึ่งคาดว่าพะยูนฝั่งอันดามันของไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5