นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 59 ส วัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก วันนี้ต่ายจะพาย้อนรอยไปดูที่ไปที่มาของ ความพยายามของมนุษย์กลุ่มที่ตั้งเป้าหมายของชีวิตไว้มากมาย หลายอย่าง ทำ �ให้เวลาที่มีอยู่ของชีวิตของเขาไม่พอ พวกเขาก็เลย ต้องทำ �ทุกวิธีเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้นเพื่อที่จะได้มีเวลาทำ �อะไร ต่อมิอะไรในชีวิตได้มากขึ้น หรือถ้าเกิดโชคดีอาจจะได้อยู่เป็นอมตะ จาก บันทึกของมนุษย์ พบว่าแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 (ซึ่ง ตรงกับปีที่ 36 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โดย นาย Ilya Mechnikov ได้นำ �คำ �ว่า “Gerontology” (ซึ่งในปัจจุบันเป็น ชื่อวิชาหรือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการชราภาพ) และได้กล่าวไว้ว่า การแก่ชรา เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ (ประเด็นนี้สำ �คัญมากๆ เลยนะ ต่ายขอเน้น!) และต่อมาในช่วงทศวรรษของปีฝรั่ง ก็คือ ค.ศ. 1950s หรือในช่วง พ.ศ. 2493 - 2502 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝรั่งได้ค้นพบ รหัส DNA และรหัสพันธุกรรม ที่เป็นพื้นฐานที่ทำ �ให้มนุษย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับ การแก่ชราเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ยังคงแข่งกัน ทำ �วิจัยเพื่อค้นคว้าหาคำ �ตอบในสิ่งที่สงสัยใคร่รู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2504 ในขณะที่ประเทศไทย ณ เวลานั้น “พอศอ สองพัน ห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้าน ผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการ เขาสั่งมาว่า ….. คุณๆ สามารถฝึกร้องจากเพลงต้นฉบับได้ที่ https:// www.youtube.com/watch?v=3AiIsKc2Ths ” ฝั่งซีกโลกตะวันตก ในปี พ.ศ. 2504 ก็เกิดปรากฎการณ์ “Hayflick Limit หรือ Hayflick Phenomenon” คุณๆ อย่าเพิ่งตกใจว่า คนอะไร ชื่อ Hayflick นามสกุล Limit ไม่ใช่เลย นักกายวิภาคชาวอเมริกันที่ชื่อ Leonard Hayflick ได้เสนอผลงานวิจัยที่ทำ �ให้คนในแวดวงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตื่นเต้นกับข้อมูลใหม่ที่เขาค้นพบ ก็คือ “เซลล์ของทารกในครรภ์มนุษย์ซึ่ง เป็นเซลล์ร่างกาย (Somatic Cells) ที่ถูกนำ �มาเลี้ยงในห้องทดลอง จะมีการ แบ่งตัวได้ประมาณ 40 - 60 ครั้งเท่านั้นก่อนจะกลายเป็นเซลล์ที่แก่ชรา” ทำ �ให้ในเวลานั้น Hayflick จึงได้เสนอแนวคิดว่า “การแก่ชราเกิดขึ้นเพราะว่า เซลล์มันหยุดแบ่งเซลล์แล้ว” นี่คือที่ไปที่มาของ “Limit” ที่สะท้อนให้เห็นถึง ข้อจำ �กัดของจำ �นวนครั้งการแบ่งเซลล์ Q U I Z ต่าย แสนซน ต่อมา ในช่วงปี ค.ศ. 1990 - 1999 (พ.ศ. 2533-2542) มีการศึกษา วิจัยและค้นพบว่า ส่วนปลายของโครโมโซมที่เรียกว่า “Telomere หรือ เทโลเมียร์” จะสั้นลงเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น เทโลเมียร์เป็นบริเวณที่มี ลำ �ดับเบสของ DNA ซ้ำ �ๆ กัน และไม่ได้ทำ �หน้าที่เป็นยีนแต่มารู้ในเวลาต่อมา ว่า เทโลเมียร์ทำ �หน้าที่ป้องกันไม่ให้โครโมโซมเสื่อมสภาพหรือไปรวมตัวกับ โครโมโซมอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ลักษณะเช่นเดียวกับพลาสติกที่หุ้ม ปลายเชือกรองเท้าที่ป้องกันไม่ให้เชือกรองเท้าหลุดลุ่ย ดังนั้น แนวคิดของ การป้องกันไม่ให้เกิดการแก่ชราแนวคิดหนึ่ง ณ เวลานี้ ก็คือ การป้องกัน ไม่ให้เทโลเมียร์สั้นลงนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2549 ช่วงเวลาที่มีการค้นพบ “Yamanaka Factors” ที่สามารถทำ �ให้เซลล์ของคนที่เจริญเป็นผู้ใหญ่แล้วกลับกลายไปเป็น “เซลล์ต้นกำ �เนิด หรือ Stem Cells” ได้ การค้นพบนี้ถือว่าเป็นการค้นพบ ที่สำ �คัญมากในศตวรรษนี้เลยเพราะเป็นการค้นพบที่มีโอกาสที่จะพัฒนา ต่อไปจนทำ �ให้มนุษย์มีอายุยืนยาวมากขึ้น และจากการค้นพบ Yamanaka Factors นี้ เป็นผลทำ �ให้นักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ Shinya Yamanaka ได้ รางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobel Prize in Physiology or Medicine) เอ๊ะ! แล้วการค้นพบนี้ สามารถนำ �มาใช้ได้เลยไหมหรือต้องรออีกกี่ปี ต่ายขอบอกเลยว่านำ �มา ใช้ได้เลยจ้า จากการค้นพบในครั้งนี้ทำ �ให้ผู้ป่วยสามารถใช้เซลล์ผิวหนัง ของตัวเองมาทำ �ให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำ �เนิด แล้วก็นำ �ไปใช้ในการรักษา โรคต่างๆ ของผู้ป่วยคนนั้นเองได้โดยไม่ต้องรอรับบริจาคเซลล์ต้นกำ �เนิด หรือสเต็มเซลล์จากแหล่งอื่นๆ เช่น ถ้าหากมีการใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน ของมนุษย์ก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องของจริยธรรมและกฎหมายที่แต่ละประเทศ มีกฎและบทลงโทษที่แตกต่างกันไป ต่อมา ในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ เซลล์ชรา (Senescent Cell) ในปี พ.ศ. 2555 ว่ามีลักษณะอย่างไร และอีกสองปี ต่อมา พ.ศ. 2557 พบว่า ยา Rapamycin ที่ถูกใช้เป็นยาสำ �หรับป้องกัน การต่อต้านอวัยวะในผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะสามารถทำ �ให้หนู ทดลอง (Mice) มีอายุยืนยาวขึ้น ถัดมา พ.ศ. 2559 ยาสำ �หรับผู้ป่วย เบาหวาน ที่ชื่อ Metformin เมื่อนำ �ไปทดสอบกับหนูทดลองพบว่าทำ �ให้ หนูทดลองมีอายุยืนยาวขึ้นด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2562 เกิดความฮือฮาเฮโรกับการค้นพบที่ต่าย มองว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งกับการค้นพบเทคนิคการตัดต่อยืน หรือเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม ที่เรียกว่า “CRISPR-Cas9 Gene ภาพจาก: https://creazilla.com/media/clipart/36615/family-is-supporting-the-care-of- their-elderly-grandmother

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5