นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
6 นิตยสาร สสวท. P ISA ประเมินคุณภาพของการจัดศึกษาในหลายด้าน แต่ที่สำ �คัญคือ การประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้าน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งกำ �ลังจะจบการศึกษา ภาคบังคับบนพื้นฐานความเชื่อว่าผู้ที่มีความฉลาดรู้ดังกล่าวสูงจะมีโอกาส ประสบความสำ �เร็จสูงตามไปด้วย ทั้งด้านการดำ �รงชีวิต การประกอบ อาชีพ และการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดย PISA ดำ �เนินการประเมิน ทุกๆ 3 ปี ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2568 จะเป็นการประเมินครั้งที่ 9 หลังจากนั้น จะเปลี่ยนรอบการประเมินเป็นทุกๆ 4 ปี ดังนั้น การประเมินครั้งที่ 10 จะประเมินในปี พ.ศ. 2572 การประเมินแต่ละครั้งมีจุดเน้นที่ต่างกัน การประเมินครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2543 เน้นการประเมินด้านการอ่าน ส่วนครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2546 เน้นด้านคณิตศาสตร์ และครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2549 เน้นด้าน วิทยาศาสตร์หมุนเวียนกันไป ด้านที่เป็นจุดเน้นจะมีข้อสอบร้อยละ 60 ส่วนที่เหลืออีกสองด้านจะมีข้อสอบแต่ละด้านร้อยละ 20 (ภาพ 1) การประเมิน ครั้งที่ 9 ที่จะประเมินในเดือนสิงหาคม 2568 นั้น จะเน้นด้านวิทยาศาสตร์ และจะเพิ่มการประเมินเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมลงไปด้วย ทั้งนี้ ในการประเมินครั้งที่ 9 นักเรียนจะต้องทำ �ข้อสอบบนคอมพิวเตอร์ผ่าน ระบบออนไลน์ การประเมินครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มี 81 ประเทศ/ เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมประเมิน ในจำ �นวนนี้มีนักเรียนอายุ 15 ปี รวมทั้งสิ้น ประมาณ 29 ล้านคน PISA สุ่มมาประเมินเพียง 690,000 คน สำ �หรับ ภาพ 2 แสดงจำ �นวนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าสอบ PISA 2022 (ที่มาภาพ: สสวท.) ภาพ 1 แสดงจุดเน้นด้านต่างๆ ในแต่ละรอบการประเมินของ PISA หมายเหตุ: 1) ที่มา: สสวท. 2) ตัวหนังสือแต่ละด้านที่เป็นสี แสดงถึงด้านที่เป็นจุดเน้นในปีนั้นๆ ประเทศไทยในปีนั้นมีนักเรียนอายุ 15 ปี ประมาณ 700,000 คน กระจาย อยู่ใน 12,303 โรงเรียน PISA สุ่มมาประเมินเพียง 8,495 คน จาก 279 โรงเรียน (ภาพ 2) ผลการประเมินพบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนต่ำ �กว่าค่าเฉลี่ยของ กลุ่มประเทศ OECD มาก ซึ่งต่ำ �กว่าเกือบ 100 คะแนน และครั้งสุดท้าย หรือครั้งที่ 8 ที่ประเมินในปี พ.ศ. 2565 นักเรียนไทยได้คะแนนต่ำ �สุด เมื่อเทียบกับการประเมิน 7 ครั้งที่ผ่านมา (ภาพ 3 - 5)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5