นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251

60 นิตยสาร สสวท. ปัญหาการใช้ทรัพยากรและมลพิษทางสิ่งแวดล้อมก็ย่อมเพิ่มขึ้นเป็น เงาตามตัว เมื่อถึงเวลานั้นมนุษย์ต้องหันกลับมาคิดอีกครั้งว่าจะแก้ปัญหา ไปในทางใดต่อไป สุดท้าย จากเรื่องราวที่ต่ายเล่าผ่านตัวหนังสือให้คุณๆ ได้อ่าน ไปแล้ว ต่ายเชื่อว่าน่าจะมีส่วนช่วยให้คุณๆ ได้เข้าใจ และมองเห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตรในโลกแห่ง การแข่งขันทุกวันนี้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีโอกาส ที่จะทำ �ให้เราตกยุค หรือไม่สามารถเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ เรียกง่ายๆ ก็คือ ตามอ่านตามเรียนไม่ทันกันเลยทีเดียวแหละ อย่าปล่อยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นกับ คุณๆ เชื่อต่าย! และหากคุณๆ สนใจหรืออยากให้ต่ายติดตามเรื่องราว อะไรเป็นพิเศษเหมือนเดิม ก็สามารถเขียน email ส่งมาบอกกล่าว หรือ มาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิม ที่ funny_rabbit@live.co.uk โชคดีมีสุขภาพดี กันถ้วนหน้า ผ่านการกินและการออกกำ �ลังกายที่เหมาะสม! คนที่อายุน้อยสามารถเดินได้เร็ว แต่คนแก่รู้ดีว่าเดินไปตรงไหนปลอดภัยกว่าิ ต ต่าย แสนซน Editing Technology หรือเรียกสั้นๆ ว่า คริสเปอร์-แคสไนน์เทคนิค” ที่ถูกนำ �มาใช้ในการแก้ไข ตัดต่อ ปรับแต่งการกลายพันธุ์ของยีนที่ทำ �ให้ หนูทดลองเกิดการแก่ชราก่อนวัยอันควร เป็นเทคนิคที่ช่วยทำ �ให้นักวิจัย สามารถปรับเปลี่ยนลำ �ดับเบสใน DNA ของสิ่งมีชีวิตได้เลย เทคนิคนี้เป็น ความหวังของคนที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมเลยทีเดียว ในอดีตหากเป็น โรคพันธุกรรมที่เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของบรรพบุรุษ เราจะไม่สามารถแก้ไขหรือทำ �อะไรได้เลยนอกจากการรักษา บรรเทา ไปตามอาการที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นๆ เท่านั้น จนหลายๆ คนเรียกว่า “โรคกรรม โรคเวร” แถมโรคที่เป็นอยู่ก็ยังถูกส่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ด้วย หากผู้ป่วยมีการแต่งงานและมีลูก สำ �หรับเทคนิคนี้ หากคุณๆ ติดตาม ข่าวสารในแวดวงวิทยาศาสตร์ประจำ �จะพบข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ มีนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ได้นำ �เอาเทคนิคนี้ไปตัดต่อยีนใน ตัวอ่อนของมนุษย์โดยได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ของเด็ก และทำ �ให้ เกิดเป็นเด็กขึ้นมา 2 คน ซึ่งปัจจุบันมีชีวิตอยู่ที่ประเทศจีน แต่แหล่งข่าว ได้ทำ �การปกปิดข้อมูลของเด็กไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการทดลองที่ผิดต่อจริยธรรม ของการทำ �การวิจัยอย่างร้ายแรงเพราะมีกฎของการห้ามทดลองในมนุษย์ แต่ถ้ามองในมุมบวก คุณๆ จะเห็นถึงประสิทธิภาพของคริสเปอร์-แคสไนน์ เทคนิคที่ถูกนำ �มาใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะทำ �ได้ง่าย แม่นยำ � และ ไวกว่าเทคนิคเดิมๆ ที่เคยใช้กันมา ในปี พ.ศ. 2563 นักวิจัยได้ประสบความสำ �เร็จและแสดงให้เห็น ถึงความก้าวหน้าอย่างมากด้านการบำ �บัดฟื้นฟูเซลล์ โดยการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่า “เซลล์ที่แก่ชราของมนุษย์สามารถฟื้นฟูได้ โดยไปกระตุ้นเพื่อทำ �ให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จะถูกใช้สำ �หรับการสร้าง “เซลล์ต้นกำ �เนิดที่ถูกเหนี่ยวนำ � หรือ Induced Pluripotent Stem Cells” การบำ �บัดโดยวิธีนี้ได้มีการนำ �เอาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ “Yamanaka Factors” ที่ค้นพบมาก่อนหน้านี้แล้วมาใช้ทำ �ให้ได้ผลลัพธ์ในเชิงบวก คือ สามารถทำ �ให้หนูทดลองดูอ่อนเยาว์ลง หรือลักษณะต่างๆ ของความชรา ในหนูทดลองหายไป หนูทดลองที่ได้รับการบำ �บัดด้วยวิธีนี้จะมีความแข็งแรง และมีชีวิตชีวามากขึ้น เรียกง่ายๆ ว่า หนูทดลองที่แก่ชรามีลักษณะเด็กลง ซึ่งทำ �ให้มนุษย์เชื่อว่าการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่างๆ ที่ถูกค้นพบแล้วนั้น ทำ �ให้มีความเป็นไปได้สูงมากสำ �หรับการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาและลด ความชราในมนุษย์ เหรียญมีสองด้านฉันใด ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยที่ต้องการ เอาชนะความชราของมนุษย์ก็จะทำ �ให้มนุษย์ไม่เจ็บ ไม่แก่ อายุยืน และ แน่นอน เมื่อมีประโยชน์ก็ย่อมต้องมีโทษ หรือสร้างผลกระทบในเชิงลบ ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วยเช่นกันในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของ จำ �นวนประชาการที่จะส่งผลไปสู่ปัญหาการใช้และการจัดการทรัพยากร (อาหาร น้ำ � และที่อยู่อาศัย) คนรุ่นใหม่จะตกงาน 5555 เพราะถ้าคน อายุยืนยาวก็ต้องการทำ �งานเพื่อหาเงินใช้ ตำ �แหน่งว่างสำ �หรับคนรุ่นใหม่ ก็ไม่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ เกิด ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยมากขึ้น เพราะคนที่อายุมากไม่แก่ ทำ �งาน มาก่อน มีโอกาสสะสมทรัพย์สินเงินทองได้มากกว่า ทำ �ให้มีอำ �นาจในการ ต่อรองหรือมีอิทธิพลมากกว่าคนรุ่นใหม่ และแน่นอนเมื่อคนมากขึ้น ภาพจาก: https://medicaldevices.oie.go.th/Article.aspx?aid=8480

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5