นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
8 นิตยสาร สสวท. ผลการสอบ PISA ของไทยที่ต่ำ �อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด มีผลต่อ ภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมาก โดยนานาชาติมองว่าประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาต่ำ � หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าศักยภาพ ของคนไทยต่ำ � ซึ่งคุณภาพของการศึกษาหรือศักยภาพของคนเป็นปัจจัยหนี่ง ที่สำ �คัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาความน่าลงทุน รวมถึงการจัดลำ �ดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ วัตถุประสงค์สำ �คัญของการประเมินของ PISA คือ ต้องการให้ แต่ละประเทศและเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประเมินทราบว่า นักเรียน อายุ 15 ปี ของตนเองที่กำ �ลังจะจบการศึกษาภาคบังคับมีความฉลาดรู้ ดังกล่าวมากน้อยเพียงใดเพื่อให้แต่ละประเทศและเขตเศรษฐกิจนำ � องค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประเมินของ PISA ไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงระบบการศึกษาของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศ ที่ได้นำ �องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA ไปใช้พัฒนาคุณภาพ การศึกษาของตนเองแล้ว สำ �หรับประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการ PISA มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เพิ่งได้นำ �องค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของตนเองอย่างจริงจังในปีการศึกษา 2567 นี้เอง แม้คำ �ว่า ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้าน วิทยาศาสตร์ ไม่ปรากฏในเอกสารหลักสูตรการศึกษาของไทย แต่เมื่ออ่าน เอกสารหลักสูตรการศึกษาของไทยโดยละเอียดแล้วจะพบว่า หลักสูตร การศึกษาของไทยก็เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทั้ง 3 ด้านดังกล่าวให้เกิดขึ้น ในตัวนักเรียนด้วยเช่นกัน ผลการสอบ PISA ของนักเรียนไทยที่ต่ำ �มาตลอดสะท้อนว่า การจัด กิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมของประเทศยังไม่สามารถพัฒนา นักเรียนให้มีความฉลาดรู้ทั้ง 3 ด้านได้เพียงพอ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ภาพ 6 แสดงร้อยละของนักเรียนที่มีความสามารถในระดับต่าง ๆ (จาก Power Point ของ สสวท.) นอกจากรายงานผลเป็นคะแนนแล้ว PISA ยังรายงานผลเป็น ระดับสมรรถนะของนักเรียนด้วย ได้แก่ ระดับ 6 ระดับ 5 ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และ ระดับ 1 (ระดับ 1a ระดับ 1b และระดับ 1c) ซึ่ง PISA ได้ให้ความหมายไว้ว่า นักเรียนที่มีสมรรถนะหรือความฉลาดรู้ ด้านใดต่ำ �กว่าระดับ 2 แสดงว่า นักเรียนคนนั้นยังมีสมรรถนะหรือความฉลาดรู้ ด้านนั้นไม่เพียงพอที่จะใช้ทั้งเพื่อการดำ �รงชีวิต เพื่อการประกอบอาชีพ และ เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ผลการประเมินครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565 พบว่า นักเรียนไทยถึงร้อยละ 68, 53 และ 65 มีสมรรถนะหรือ ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านการอ่านต่ำ �กว่า ระดับ 2 ตามลำ �ดับ ซึ่งเป็นจำ �นวนที่มากเกินไป (ภาพ 6) ยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำ �หนดไว้ในหลักสูตร จึงจำ �เป็นที่นักเรียน ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม คณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ (พลตำ �รวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) เป็นประธาน จึงมีมติให้มี การจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ทุกคนในทุกสังกัด ในปีการศึกษา 2567 ประมาณ 1,200,000 คน เพื่อพัฒนานักเรียนดังกล่าว ให้มีความฉลาดรู้ทั้ง 3 ด้าน สูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่กำ �หนดไว้ใน หลักสูตร หากการจัดกิจกรรม PISA ในปีการศึกษา 2567 ได้ผลดี ก็จะมี การขยายการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ลงไปสู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ในปีการศึกษาต่อๆ ไป เพื่อการพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ทุกคนใน ทุกสังกัดดังกล่าว สพฐ. และ สสวท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ จึงได้ร่วมกันพัฒนาเอกสารชุดพัฒนาความฉลาดรู้ขึ้น 17 เล่ม เป็นชุดพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน 5 เล่ม ด้านคณิตศาสตร์ 6 เล่ม และด้านวิทยาศาสตร์ 6 เล่ม เอกสารเล่ม 1 เป็นคู่มือการใช้ เอกสารชุดพัฒนาความฉลาดรู้ เอกสารเล่ม 2 เป็นกรอบแนวคิดและรูป แบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เอกสารเล่ม 3 เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนา ความฉลาดรู้ เอกสารเล่ม 4 เป็นแบบฝึกเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ เอกสาร เล่ม 5 เป็นแนวการตอบคำ �ถามตามแบบฝึก ส่วนเอกสารเล่ม 6 เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มเติม ซึ่งมีเฉพาะด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ โดยครูและผู้สนใจทุกท่านสามารถ ดาวน์โหลดเอกสาร 17 เล่ม จากลิงก์หรือ สแกน QR Code
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5