นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251
ปีที่ 53 ฉบับที่ 251 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 9 ทั้งนี้ คาดหวังว่าในปีการศึกษา 2567 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ จะนำ �กิจกรรมในเล่ม 3 และแบบฝึก ในเล่ม 4 ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนสอนและฝึกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ให้มากที่สุด รวมถึงการจัดให้นักเรียนได้ฝึกทำ �แบบฝึกหรือ ข้อสอบบนคอมพิวเตอร์ (Computer Based Test) ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ด้วย คณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ได้ให้ความสำ �คัญเรื่องนี้มาก ได้ กำ �หนดนโยบายให้ทุกสังกัดจัดอบรมครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหาร การศึกษา ทั้งแบบ Online และ Onsite เพื่อให้โรงเรียนและครูสามารถ นำ �เอกสารชุดพัฒนาความฉลาดรู้ทั้ง 17 เล่ม ไปใช้จัดการเรียนการสอนและ ฝึกนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ทุกคน โดยให้แต่ละสังกัดรายงานความก้าวหน้าให้คณะ กรรมการ PISA แห่งชาติทราบทุกเดือน นอกจากนั้น คณะกรรมการ PISA แห่งชาติยังมีนโยบายให้ทุกสังกัด พัฒนาครูให้สามารถสร้างข้อสอบแนว PISA ได้ และส่งเสริมให้ทุกโรงเรียน ใช้ข้อสอบแนว PISA จำ �นวนหนึ่งในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของ นักเรียน ทั้งการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค และการสอบอื่นๆ ทั้ง Formative และ Summative Evaluation การจะพัฒนาความฉลาดรู้ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนจำ �เป็นต้องมี การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม วิธีการหนึ่งคือ ครูหาบทอ่าน หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ �วันมาให้นักเรียนได้ศึกษา วิเคราะห์ แล้วตั้งคำ �ถามให้นักเรียนจับใจความ แปลความ ตีความ ขยายความ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และประเมินสาระ ข้อมูล และข้อสนเทศใน บทอ่านหรือในสถานการณ์ที่อ่านนั้นบ่อยๆ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนตามแนวทางนี้ สพฐ. และ สสวท. ได้จัดทำ �รายละเอียดไว้แล้ว ในเอกสารชุดพัฒนาความฉลาดรู้เล่ม 3 ของชุดพัฒนาความฉลาดรู้ ทั้งสามด้าน ครูสามารถศึกษาและนำ �ไปใช้หรือปรับใช้ได้เลย จากการดำ �เนินการตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ทำ �ให้เชื่อได้ว่าใน ปีการศึกษา 2567 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ทุกคนในทุกสังกัด จะได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เมื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ในปีการศึกษา 2567 เลื่อนไปเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 และ 4 และชั้น ปวช. ปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2568 นักเรียนเหล่านี้จะมีโอกาสถูกสุ่มเข้าสอบ PISA ในเดือนสิงหาคม 2568 ซึ่งก็น่าจะทำ �ข้อสอบ PISA ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ โดยทั่วไป ณ เดือน สิงหาคม 2568 นักเรียนอายุ 15 ปี ประมาณร้อยละ 80 จะเรียนอยู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ ปวช. ปีที่ 1 และประมาณร้อยละ 18 จะเรียน อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนที่เรียนอยู่ในระดับชั้นอื่นมีน้อยมาก ในปีการศึกษา 2568 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 และ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช. 1) จะมีเวลาเตรียมความพร้อม ของตนเองเพื่อสอบ PISA ภายใต้การกำ �กับและชี้แนะของผู้สอนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 และ ชั้น ปวช. 1 อีกประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2568 แต่ผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ยังไม่เคยรับทราบและได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ความฉลาดรู้ทั้งสามด้านมาก่อน (ผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 และ ปวช. 1 ได้รับการชี้แจงเรื่องนี้แล้วในปีการศึกษา 2567) การ ดำ �เนินงานขั้นต่อไป จึงจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงครูวิชาภาษาไทย วิชา คณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของทุกโรงเรียน ทุกสังกัด เพื่อให้ครูดังกล่าวสามารถกำ �กับและชี้แนะนักเรียน รวมถึง สามารถนำ �เอกสารชุดพัฒนาความฉลาดรู้ทั้ง 17 เล่ม ไปประยุกต์ใช้กับ นักเรียนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนจะจัดอบรมแบบ Online ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2568 ในขณะเดียวกัน สสวท. และ ศูนย์ PISA ของ สพฐ. จะได้ ร่วมกันพัฒนาแบบฝึกเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้เพิ่มเติมขึ้นอีก 9 ชุด ด้าน การอ่าน 3 ชุด คณิตศาสตร์ 3 ชุด และวิทยาศาสตร์ 3 ชุด ใช้เวลาฝึก ชุดละประมาณ 1 ชั่วโมง ส่งให้ครูทุกโรงเรียนนำ �ไปพัฒนานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 และ ปวช. 1 ของตนเองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 ต่อไป ปัจจัยสำ �คัญอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวกับการสอบ PISA คือ ที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะนักเรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำ �คัญของการสอบ PISA จึงอาจทำ �ให้มีนักเรียนจำ �นวนหนึ่งไม่ตั้งใจทำ �ข้อสอบเท่าที่ควร จึง มีความจำ �เป็นต้องมีการประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษาและครูทุกคน ของทุกโรงเรียนทุกสังกัดที่เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยมีแผน จะจัดแบบ Online เป็นเวลา 1 วัน ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 เพื่อชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูทราบว่า เป็นภาระและ หน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่จะต้องทำ �ให้นักเรียนทุกคนเห็น ความสำ �คัญของการสอบ PISA ส่งเสริมให้กำ �ลังใจนักเรียน กระตุ้นและ อำ �นวยความสะดวกให้นักเรียนเตรียมความพร้อมด้วยตนเอง แก้ปัญหา กรณีที่โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบต่างๆ ไม่พร้อมและไม่พอเพียง ที่จะให้นักเรียนฝึกทำ �ข้อสอบบนคอมพิวเตอร์ และท้ายสุดหากนักเรียนได้รับ สุ่มเข้าสอบ PISA ก็ต้องหาวิธีการส่งเสริมจูงใจให้นักเรียนทุกคนตั้งใจ ทำ �ข้อสอบอย่างเต็มกำ �ลังความสามารถ เพื่อตนเองและเพื่อประเทศชาติ ต่อไป สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2567, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5