นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

10 นิตยสาร สสวท. การสื่อสารให้สังคมเข้าใจถึงคุณค่าและความสำ �คัญของงานเหล่านั้น ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1918 ได้มีเหตุการณ์การแพร่ระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่ในหลายประเทศของยุโรป การระบาดนี้มีผลกระทบ อย่างรุนแรงและเป็นหนึ่งในโรคระบาดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำ �นวนมาก ทำ �ให้ประชาชนเริ่มตั้งคำ �ถาม เกี่ยวกับความปลอดภัยของการรักษาและการวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะ เมื่อเกิดข้อมูลที่ขัดแย้งกันในประเด็นระหว่างนักวิทยาศาสตร์ หน่วยงาน ทางการแพทย์ และสื่อมวลชน ทั้งในด้านการวินิจฉัย สาเหตุของโรค วิธีการ รักษา และมาตรการควบคุมโรค ความขัดแย้งเหล่านี้มีผลกระทบสำ �คัญ ต่อการรับมือกับการระบาดและความเชื่อมั่นของประชาชน ทำ �ให้เกิด การเรียกร้องให้มีการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้นเพื่อให้ ประชาชนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล หรือแม้กระทั่งโรคระบาด โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นเครื่องมือสำ �คัญในการควบคุมการระบาด แต่ ในระยะแรกยังไม่มีข้อมูลระยะยาวเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือประสิทธิภาพ ในการป้องกันสายพันธุ์ใหม่ แต่สื่อบางแห่งเน้นข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียง ที่ร้ายแรงจากวัคซีน ขณะเดียวกัน สื่อโซเชียลบางสื่อเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ซึ่งไม่เป็นความจริง นำ �มาสู่การสร้างความกลัวและความตื่นตระหนก ให้กับสังคม เหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และเข้าถึงประชาชนในทุกกลุ่มเป็นปัจจัยสำ �คัญที่ช่วยให้ประชาชนที่มี ข้อมูลเพียงพอและถูกต้องจะสามารถตัดสินใจและปฏิบัติตนได้อย่าง เหมาะสม สะพานเชื่อมระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับสังคม จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าช่องว่างที่เกิดขึ้นนี้มีความสำ �คัญ อย่างมากในวงกว้างทั้งในทางสังคมและความปลอดภัยในชีวิตของ ประชาชน จากช่องว่างนี้จึงเกิดเป็นอาชีพหนึ่งที่เรียกว่า “นักสื่อสาร วิทยาศาสตร์ (Science Communicator)” ขึ้น พวกเขาทำ �หน้าที่เป็น สะพานเชื่อมระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับประชาชน แปลงภาษาวิชาการที่ เข้าใจยากให้กลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย การสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการในการถ่ายทอดแนวคิด ข้อมูลและข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ไปยังผู้รับสาร ซึ่งมีทั้งในระดับ นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจงานด้านวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ผ่านสื่อหรือช่องทางต่างๆ ที่หลากหลายโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง ความตระหนักทางวิทยาศาสตร์แก่สาธารณชน (Public Awareness of Science) สร้างความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์แก่สาธารณชน (Public Understanding of Science) และสร้างความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) (Burns et al., 2003) นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง คาร์ล เซแกน (Carl Sagan) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีความสามารถพิเศษในการแปลง เรื่องราวซับซ้อนทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่เข้าใจและเข้าถึงได้สำ �หรับ คนทั่วไป ผ่านการใช้ภาษา การตั้งคำ �ถาม และการเล่าเรื่องอย่างลึกซึ้ง ทำ �ให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวและน่าสนใจ (Shermer, M. 2013) เขาทำ �ให้เรื่องดาราศาสตร์ที่ดูเหมือนจะไกลตัวกลายเป็นเรื่องที่ น่าตื่นเต้นและเข้าถึงได้สำ �หรับคนทั่วไป ผ่านรายการโทรทัศน์ “Cosmos” ที่ออกอากาศในปี ค.ศ. 1980 (Davidson, 1999) รายการนี้ไม่เพียงสร้าง แรงบันดาลใจให้ผู้ชมหลายล้านคน แต่ยังเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อ วิทยาศาสตร์อวกาศไปอย่างสิ้นเชิง สำ �หรับประเทศไทย มีนักสื่อสาร วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาท สำ �คัญในสังคมไทย เช่น รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คอยช่วยให้ความรู้เชิง วิทยาศาสตร์เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยข้อมูลที่ ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเชื่อหรือข้อมูลที่อาจทำ �ให้เกิดความเข้าใจผิด ในสังคม เช่น การอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่าง “บั้งไฟพญานาค” ที่หลายคนเคยเข้าใจผิดว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือธรรมชาติ (อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท, 2562) จากโลกกว้างสู่ห้องเรียน ‘ความรู้ที่ยิ่งใหญ่จะไม่มีความหมายเลยหากไม่สามารถสื่อสารให้ ผู้อื่นเข้าใจได้’ ประเด็นนี้มีความสำ �คัญมากสำ �หรับห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน เพราะถ้าหากนักเรียนเข้าใจทฤษฎีวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ หรือนักเรียนที่ทำ �โครงงาน วิทยาศาสตร์ได้อย่างดีเยี่ยมแต่ไม่สามารถนำ �เสนอให้ผู้อื่นเห็นคุณค่า ของงานตัวเอง นี่คือช่องว่างที่สำ �คัญที่เราควรช่วยกันเติมเต็มและพัฒนา ทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน สำ �หรับการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารในนักเรียนไทยพบว่า การสื่อสารเป็นทักษะที่นักเรียนมีปัญหาค่อนข้างมาก นั่นคือการสื่อสาร ออกมาเป็นเพียงการอ่านข้อความ นักเรียนไม่สามารถนำ �เสนอเป็น ความคิดเห็นของตนเองและไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำ �คัญของสาร นั้นได้ (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, 2558) นอกจากนี้ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพต้องมุ่งเน้น การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน แนวคิดการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนโดยเน้นที่การสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ในมุมมองของผู้ฟังผ่านหลักการที่มีตัวย่อว่า “AEIOU” ซึ่งประกอบด้วย Awareness (ความตระหนักรู้) Enjoyment (ความเพลิดเพลิน) Interest (ความสนใจ) Opinion-forming (การสร้างทัศนคติ) และ Understanding (ความเข้าใจ) ของผู้ฟังต่อวิทยาศาสตร์ (Burns et al. 2003) นอกจากนี้ ต้องสามารถปรับภาษาทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่ายโดยไม่บิดเบือน ความหมายที่แท้จริง นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ต้องเข้าใจทั้งเนื้อหา วิทยาศาสตร์และความต้องการของผู้รับสาร (Fischhoff et al. 2021) การสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ดีต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้รับสาร ไม่ใช่เพียงการส่งผ่านข้อมูลทางเดียว แต่ต้องเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและการตั้งคำ �ถาม (Davies et al. 2023) การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและมี ความน่าเชื่อถือ โดยข้อมูลควรมาจากแหล่งปฐมภูมิที่ได้รับการยอมรับใน วงการวิทยาศาสตร์ การนำ �เสนอต้องมีความถูกต้องแม่นยำ �และปราศจาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5