นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 11 อคติ (Burns et al. 2019) แนวคิดนี้มีส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าถึง การสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น สนุกสนาน และมีความเชื่อมโยงกับ ชีวิตประจำ �วัน ส่งเสริมการคิดอย่างมีเหตุผล การวิเคราะห์ข้อมูล และ การอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (สำ �นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) แล้วเราจะทำ �อย่างไรได้บ้าง แชนนอน (Shannon) และวีเวอร์ (Weaver) ได้เสนอแนวคิด พื้นฐานของการสื่อสารที่ถูกนำ �มาใช้ในหลากหลายบริบท ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร ซึ่งเป็นโมเดลพื้นฐานที่ นำ �ไปสู่การพัฒนาแนวคิดการสื่อสารที่หลากหลายรวมถึงการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ (Shannon, 1948) หลายคนมักมองว่าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์น่าเบื่อ เข้าใจยาก แต่แท้จริงแล้วหากส่งเสริมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เหมาะสม ครูก็ สามารถเปลี่ยนห้องเรียนให้สนุกสนาน และส่งเสริมทักษะการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไปด้วยกัน ผ่านตัวอย่างกิจกรรมที่จะนำ �เสนอ ต่อไปนี้ 1. เล่าเรื่องให้วิทย์มีชีวิต “เด็กๆ ครูมีเรื่องจะเม้าท์...” จะเป็นอย่างไรถ้าครูลองเปลี่ยน วิธีการสื่อสารจากการที่ต้องอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาวิชาการ หน้าห้องเรียนเป็นการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มเรื่องของการใช้การเล่าเรื่อง (Storytelling) การเล่าเรื่องเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจ และส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียน (Klassen, 2009) ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะสอนวัฏจักรน้ำ �แบบดั้งเดิม ครูสามารถใช้การเล่าเรื่องผ่านตัวละคร ‘หยดน้ำ �’ ที่ออกผจญภัยตามดินแดนต่างๆ การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเช่นนี้ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น และสร้าง ความผูกพันทางอารมณ์กับเนื้อหาที่เรียน (Egan & McEwan, 1995) ครูสามารถให้นักเรียนเลือกหัวข้อวิทยาศาสตร์ที่นักเรียน สนใจแต่งเป็นเรื่องเล่าโดยสร้างตัวละคร (Character) ขึ้นมาจาก องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งในบทเรียน และเล่าเป็นเรื่องผ่าน เหตุการณ์สำ �คัญต่างๆ หรือจุดพลิกผัน (Climax) ไปจนถึงบทสรุปของ เรื่องราวการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ (Conclusion) ในตอนท้ายว่าเรื่องราว ทั้งหมดนี้เกิดอะไรขึ้น จะเห็นว่าแค่เราใส่เทคนิคการเล่าเรื่องลงไป นักเรียน จะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านจินตนาการของแต่ละคนในการที่จะ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวโดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ประกอบ เข้าด้วยกัน วิธีการนี้ครูอาจจะได้พบความประหลาดใจว่านักเรียน อาจทำ �ได้ดีกว่าที่คิด เพราะ เ ขาได้ เ ชื่อมโ ยง เ รื่องที่ เ รียน เ ข้ากับ เรื่องราวในจินตนาการที่สนใจ เราอาจได้รู้จักตัวละครสุดแปลกแต่ เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ครูอาจ เอาไปเป็นแนวทางในการปรับใช้ในห้องเรียนได้ เช่น เล่านิทานเรื่อง การ ผจญภัยของอะตอม การเดินทางของน้องพลังงานในสายใยอาหาร เรื่องเล่า การเดินทางของอาหารในระบบย่อยอาหาร ผ่านมุมมองของน้องเมล็ดข้าว (สำ �นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) 2. 3-Minute Science Story เชื่อหรือไม่ว่าเวลาเพียง 3 นาที ก็มากพอจนสามารถเล่าเรื่อง วิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจได้ การนำ �เสนอวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ 3-Minute Science Story ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการแข่งขัน FameLab ซึ่งเริ่มต้นในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2005 (Zarkadis et al., 2017) รูปแบบการนำ �เสนอในเวลาจำ �กัดนี้ไม่เพียง ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร แต่ยังส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ อย่างลึกซึ้งเนื่องจากผู้นำ �เสนอต้องสามารถสรุปและถ่ายทอดแนวคิดที่ ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายในเวลาอันสั้น (Mercer-Mapstone & Kuchel, 2017) จากงานวิจัยพบว่าการฝึกนำ �เสนอในรูปแบบสั้นและกระชับนี้ช่วยพัฒนา ทักษะที่สำ �คัญหลายด้าน ทั้งการคิดวิเคราะห์ การจับประเด็น และความมั่นใจ ในการสื่อสาร (Bullock et al., 2014) เริ่มต้นครูอาจให้นักเรียนเลือกเนื้อหาประเด็นวิทยาศาสตร์ ที่สนใจผลัดกันเล่าโดยกำ �หนดเวลาเพียง 3 นาที เพื่อให้เกิดความท้าทาย นักเรียนมีอิสระในการตัดสินใจเลือกเนื้อหาด้วยตนเอง และต้อง วางแผนว่าจะเล่าอย่างไรในเวลาที่จำ �กัด ประเด็นใดเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ผู้ฟังจะต้องว้าวให้ได้ เทคนิคนี้ครูช่วยนักเรียนได้โดยอาจแบ่งเวลาเป็น 3 ส่วน ในช่วงหนึ่งนาทีแรกให้เป็นส่วนเกริ่นนำ �เหตุการณ์ที่สนใจ (The Hook) อาจขึ้นด้วยเหตุการณ์ หรือข้อคำ �ถามชวนสงสัย จากนั้นในนาทีที่สอง ให้สร้างความสงสัยและหาคำ �ตอบจากเรื่องเล่านี้ (The Journey) และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5