นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

12 นิตยสาร สสวท. ในนาทีสุดท้ายให้เราสรุปประเด็นที่นำ �เสนอ (The Landing) อาจมีการ เชื่อมโยงไปยังเรื่องราวอื่นๆ หรือทิ้งคำ �ถามชวนคิดให้คนได้คิดต่อได้ เคล็ดลับสู่ความสำ �เร็จ นักเรียนควรเลือกประเด็นที่สนใจ ใช้คำ �ถามชวนคิด เล่าเป็นขั้นเป็นตอน มีท่าทางหรืออุปกรณ์ประกอบ และจบด้วยข้อคิด ที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจครูอาจจะจัดเป็นการแข่งขันให้ นักเรียนเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ใน 3 นาที หรือให้นักเรียนได้สุ่มจับฉลาก ประเด็นในการเล่า หรือนำ �ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจมาเป็นประเด็นใน การนำ �เสนอ นักเรียนอาจนำ �เสนอในรูปแบบข่าวหรือรายการทีวีได้ วิธีการนี้ จะมีส่วนช่วยให้นักเรียนจดจำ �รายละเอียดของเนื้อหาวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น ได้เข้าใจประเด็นทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ได้พัฒนาทักษะการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ในพื้นที่สาธารณะ ได้ฝึกคิดวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล อย่างเป็นระบบ 3. ละครวิทย์ ศิลปะแห่งการเรียนรู้ ใครว่าละครต้องมีแต่ในทีวี ในห้องเรียนก็สามารถทำ �ได้ เทคนิคนี้ ครูอาจให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นนักแสดงผ่านการแสดงละครเวทีโดย ใช้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์มาเป็นประเด็นในการนำ �เสนอผ่านบทละคร ละครวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แค่การแสดงธรรมดา แต่เป็นการผสมผสาน ระหว่างศิลปะการแสดงและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างลงตัว นักเรียน จะได้เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการแสดงเพื่อพัฒนาเป็นบทละคร ต้อง วางแผนในการเขียนบทละครให้มีความสนุก น่าติดตาม และมีความน่าสนใจ โดยบทละครอาจสอดแทรกประเด็นหรือเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ ในระหว่าง การพัฒนานักเรียนอาจต้องคำ �นึงถึงเพลง และฉากที่จะใช้ ประเด็นที่ครู สามารถเลือกมาเป็นบทละคร เช่น ประเด็นทางสังคมเรื่องของสิ่งแวดล้อม ปัญหา PM 2.5 ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก สถานการณ์ การเดินทางของนักบินอวกาศในการสำ �รวจอวกาศ หรือครูอาจนำ �ละครที่มี อยู่แล้วในรายการโทรทัศน์มาปรับบทให้สอดแทรกเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การใช้ละครในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริม ความเข้าใจในเนื้อหาและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Wilson et al., 2020; สมศักดิ์ อรุณสุขรุจี, 2565) จากเทคนิคนี้นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการ รวมพลังทำ �งานเป็นทีม ได้ฝึกการเขียนบทละคร การเล่าเรื่องในรูปแบบ ละคร การแสดงบทบาทสมมติ การสื่อสารที่ชัดเจนและพัฒนาความมั่นใจ ในตัวเองของนักเรียนได้ กิจกรรมนี้ครูอาจพัฒนาต่อยอดไปเป็นละคร วิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน โดยอาจจัดในวันวิทยาศาสตร์เพื่อเป็น ผลงานหลักของนักเรียนในระดับชั้นใดชั้นหนึ่งได้ 4. ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) ตัวน้อย นักสื่อสารวิทย์ตัวจิ๋ว TikTok เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่นำ �เสนอทั้งความรู้และความบันเทิง ในรูปแบบคลิปสั้นๆ และมีความหลากหลายในวิธีการนำ �เสนอจากแต่ละ ผู้ใช้ซึ่งดึงดูดความสนใจได้ดี ในบริบทของการจัดการเรียนรู้ปัจจุบันพบว่า ผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ โลกออนไลน์กลายเป็นเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เทคโนโลยีทำ �หน้าที่ เป็นสื่อกลางที่เชื่อมต่อข้อมูลความรู้ที่หลากหลาย (พงษพัชรินทร พุธวัฒนะ, 2564) โดยเฉพาะกับผู้เรียนรุ่น Generation Alpha ที่เติบโตมากับ เทคโนโลยี ชอบท่องโลกด้วยปลายนิ้วและเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ ที่มีเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางทำ �ให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ตามความสนใจ เฉพาะตัวได้ (Schawbel, 2014;Tantichoowet, 2017) ซึ่งในประเทศไทย ก็มีการสนับสนุนการใช้ TikTok เพื่อการเรียนรู้ เช่น สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่เริ่มนำ � TikTok มาช่วยทำ �เนื้อหา วิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ทำ �ให้การเรียนรู้ทันสมัยและ ตอบโจทย์ผู้เรียนในยุคนี้ ในปัจจุบันนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าสื่อมีความสำ �คัญมาก ในสมัยนี้ และในยุคนี้ใครๆ ก็สามารถสร้างสื่อได้เพียงแค่ยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาก็ สามารถถ่ายทำ �คอนเทนต์สุดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจได้ ซึ่งจะเห็นได้จาก หลากหลายคอนเทนต์ในแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TikTok YouTube Facebook แล้วทำ �ไมเราไม่ลองให้นักเรียนสวมบทบาทติ๊กต๊อกเกอร์ วิทยาศาสตร์ดูบ้างล่ะ? แค่มีมือถือหรือกล้องง่ายๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ ดีๆ ได้แล้ว ครูอาจให้นักเรียนได้ลองสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านการเล่าเรื่องใน คลิปวีดิทัศน์สั้นและตัดต่อให้น่าสนใจเพื่อโพสต์ลงในสื่อโซเชียลมีเดียต่อไป เทคนิคนี้นักเรียนจะได้ฝึกวางแผนการถ่ายทำ � การเลือกเนื้อหาที่จะสื่อสาร ออกไป นักเรียนจะได้ลองเขียนบท ซ้อมพูด ถ่ายทำ � โดยในบางครั้งอาจ ใช้การทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่าย ๆ มาเป็นคอนเทนต์ก็ได้ นอกจากนั้น นักเรียนยังได้ฝึกการตัดต่อ การใส่เพลงประกอบผ่านแอปพลิแคชันง่ายๆ เทคนิคนี้ครูอาจเป็นผู้เลือกประเด็นหรือให้นักเรียนเป็นคนเลือก เนื้อหาที่สนใจเองก็ได้ โดยอาจเป็นคลิปเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์สั้นๆ สาธิต การทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ คลิปอธิบายปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์ ในชีวิตประจำ �วัน Vlog บันทึกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือการรีวิวหนังสือ วิทยาศาสตร์ที่นักเรียนสนใจ แต่เทคนิคนี้ครูอาจมีข้อควรระวังในเรื่องของ การเผยแพร่สื่อออกสู่สาธารณะ โดยต้องตรวจสอบความถูกต้องของ เนื้อหาและความเหมาะสมก่อนเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ และเน้นย้ำ �ผู้เรียนว่า ยอดไลก์อาจไม่ได้เป็นตัวตัดสินคุณภาพของผลงานเพื่อไม่ให้นักเรียน คาดหวังกับยอดไลก์เท่านั้นแต่ให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ �ซึ่งไม่ได้ขึ้นกับ ยอดไลก์ของผลงาน 5. Science Show มหัศจรรย์วิทยาศาสตร์ Science Show หรือการแสดงทางวิทยาศาสตร์เป็นการผสมผสาน ระหว่างความบันเทิงและการเรียนรู้ที่ทำ �ให้วิทยาศาสตร์มีชีวิตชีวา ซึ่ง นับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราสามารถใช้เพื่อสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้ เช่นเดียวกับเทคนิคอื่นๆ โดยครูอาจให้นักเรียนช่วยกันวางแผนการ จัดการแสดง Science Show โดยนักเรียนเลือกการทดลองที่น่าสนใจและ มีความปลอดภัย เน้นความตื่นเต้น เช่น การเปลี่ยนสีของสารเคมี หรือ ปฏิกิริยาที่เกิดฟองฟู่ โดยสอดแทรกความรู้และคำ �อธิบายทางวิทยาศาสตร์ ไปด้วยกัน เทคนิคนี้ครูอาจให้นักเรียนเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเชื่อมโยงกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5