นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
28 นิตยสาร สสวท. การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบท (Cetin, 2014) อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น และเพื่อวิพากษ์วิจารณ์และ ยืนยันความคิดเห็นโดยใช้หลักฐานที่หนักแน่นและถูกต้อง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สามารถพิจารณาความรู้ จริยธรรม และประเด็น ทางสังคมที่แตกต่างกัน จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดตรรกะทางความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีหลักฐาน และเหตุผลประกอบที่สอดคล้องกัน เมื่อได้ออกมาโต้แย้ง สนับสนุน จะเกิดแนวคิดใหม่ๆ คำ �ถาม การกล่าวอ้าง หลักฐาน และ เหตุผลในการสนับสนุนประกอบกับการโต้ตอบของนักเรียน และการกล่าวอ้างที่ใช้กระบวนการแข่งขันกัน ทำ �ให้เกิดการวิพากษ์และ ประเมินโดยตัวนักเรียนเองหรือครูหรือกรรมการภายนอกไปพร้อมกัน การส่งเสริมทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ฟิสิกส์สัประยุทธ์เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำ �ให้นักเรียนทั่วประเทศมีเวทีแสดงความสามารถด้านฟิสิกส์ สามารถโต้วาที เชิงวิชาการทางวิทยาศาสตร์ อภิปรายการทดลอง ซักค้านและวิพากษ์ได้อย่างเข้าใจ ได้ฝึกการทดลองแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาตร์ ค้นคว้าข้อมูลเชิงทฤษฎีจากบทความทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเรียนรู้เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ทั้งในและนอกบทเรียนเพื่อนำ �มา ใช้แก้ปัญหาโจทย์ปัญหาปลายเปิด ส่วนประกอบที่สำ �คัญอีกอย่างคือ ครูผู้สอนในสาขาวิชาฟิสิกส์ได้ฝึกใช้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการแสวงหาความรู้ และได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และแก้ปัญหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งฝึกให้นักเรียนค้นคว้า ข้อมูล ชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหาการทำ �งานเป็นทีม ตามแนวทางการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ดังนั้น การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ จึงมีความเกี่ยวข้องกับการแข่งขันตามรูปแบบฟิสิกส์สัประยุทธ์อย่างปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากในการกระบวนการนำ �เสนอโจทย์ ซักค้าน และวิพากษ์ในลักษณะของการโต้วาทีทางวิชาการนั้น ฝ่ายที่ทำ �หน้าที่ซักค้านต้องกล่าวถึง 4 ส่วนที่สำ �คัญ ได้แก่ คำ �ถามหรือ ประเด็นที่สงสัย ข้อกล่าวอ้าง เหตุผลในการกล่าวอ้าง และหลักฐาน ซึ่งเกณฑ์เชิงประจักษ์ตามใบให้คะแนนของฟิสิกส์สัประยุทธ์ จะสามารถประเมินความเหมาะสมของคำ �ถาม การกล่าวอ้าง การให้เหตุผลของข้อมูลและหลักฐานได้ สถานการณ์ที่เด่นชัดในการใช้กระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ให้ดียิ่งขึ้นสามารถทำ �ให้คณะกรรมการเห็นประเด็นที่นักเรียนจะนำ �เสนอได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายซักค้านสามารถชี้จุดอ่อน ของฝ่ายนำ �เสนอได้ (Rebuttals) หากกรรมการเห็นตามที่ฝ่ายซักค้านกล่าวอ้างมาจะเป็นน้ำ �หนักทำ �ให้ฝ่ายซักค้านได้คะแนนในส่วนนี้ไป ข้อกล่าวอ้าง (Claim) ของฝ่ายนำ �เสนอถูกฝ่ายซักค้านพิสูจน์หักล้าง (Rebuttals) ในทางกลับกัน หากข้อกล่าวอ้างที่ฝ่ายซักค้าน หยิบยกขึ้นมาไม่สามารถอธิบายเหตุผลสนับสนุนและแสดงหลักฐานได้ คณะกรรมการก็จะพิจารณาได้ว่าฝ่ายซักค้านกล่าวอ้างไม่จริง ทำ �ให้ฝ่ายนำ �เสนอเกิดข้อได้เปรียบในผลการทดลองที่ถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ข้อกล่าวอ้าง (Claim) ของฝ่ายนำ �เสนอ มีข้อมูล (Data) เป็นข้อเท็จจริง มีข้อยืนยัน (Warrants) เช่น ทฤษฎี การทดลอง อธิบายเงื่อนไข (Qualifiers) ตัวแปร ข้อจำ �กัด ขอบเขต ของข้อมูลชัดเจน มีปัจจัยสนับสนุน (Backing) ที่เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น งานวิจัยรองรับ บทความทางวิชาการ จะทำ �ให้ คณะกรรมการเห็นด้วยกับฝ่ายนำ �เสนอ น้ำ �หนักคะแนนจะกลับมาอยู่ที่ฝ่ายนำ �เสนอ ดังตาราง 1 ตาราง 1 ตัวอย่างสถานการณ์การแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ กับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการแข่งขันในแต่ละยกรอบคัดเลือก ตั้งข้อคำ �ถาม เพื่อซักค้าน ตอบข้อซักถาม ถามคำ �ถามสั้นๆ ควรถามในประเด็นที่ฝ่ายนำ �เสนอได้สรุปไว้ ( เช่น ทดลองด้วยตัวแปรความสูง ระยะยื่นของไม้บรรทัด ขนาดกระดาษ พื้นผิวของโต๊ะที่วางไม้บรรทัด) เพื่อ ทดสอบหลักฐานและเหตุผลในการทดลอง หลังจากนั้น นำ �มาตั้งเป็นคำ �ถามที่สงสัยเพื่อหาข้อกล่าวอ้าง เช่น 1. ไม้บรรทัดทำ �จากวัสดุประเภทใด 2. ลูกบอล เป็นการปล่อยแบบอิสระหรือเพิ่มแรง 3. ชนิดของ ไม้บรรทัดส่งผลหรือไม่ 4. ทำ �การทดลองเพิ่มหรือ ลดความดันใต้แผ่นกระดาษหรือไม่/ด้วยวิธีใด ฝ่ายซักค้านถามคำ �ถาม ต่อฝ่ายนำ �เสนอเพื่อ ตรวจสอบความเข้าใจ ฝ่ายซักค้านถามคำ �ถาม ในประเด็นการทดลอง ของฝ่ายนำ �เสนอ โดย เชื่อมโยงกับข้อมูลที่ ตนเองเตรียมไว้ ประเด็นของการโต้ แย้งทางวิทยาศาสตร์ บทบาทการทำ �หน้าที่ ตัวอย่างของการใช้การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ในบทบาทของการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ (อ้างอิงจากโจทย์ ฟิสิกส์สัประยุทธ์ปี 2567 ข้อ กลไม้บรรทัด) ฝ่ายนำ �เสนอ ฝ่ายซักค้าน กิจกรรม รายละเอียด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5