นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

30 นิตยสาร สสวท. จะเห็นได้ว่า การใช้กระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์กับการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ทำ �ให้ผู้เข้าแข่งขันโต้วาทีได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ฝ่ายซักค้านเกิดการถามคำ �ถามที่สงสัยนำ �ไปสู่ข้อกล่าวอ้างที่ตรงกันข้ามกับฝ่ายนำ �เสนอ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายนำ �เสนอ ต้องยึดในหลักฐานการทดลองและเหตุผลสนับสนุนในการทดลองของตนเองพร้อมกับอ้างอิงหลักฐาน ทฤษฎี ของการสนับสนุน เหตุผลดังกล่าว ผู้เข้าแข่งขันต่างได้เห็นเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละบทบาทตามเกณฑ์ใบให้คะแนนก่อนการแข่งขัน ซึ่งการใช้ กระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์จะทำ �ให้นักเรียนผู้เข้าแข่งขันไม่หลงประเด็น สามารถดำ �เนินการแข่งขันในกรอบของการให้ คะแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ฝ่ายนำ �เสนอ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ของการทดลองได้โดยใช้หลักฐานและเหตุผลเชิงฟิสิกส์ในการทดลองอย่าง ครอบคลุม กล่าวอ้างทฤษฎีหรือแบบจำ �ลองที่เกี่ยวข้องกับการทดลองของตนเองได้ สามารถทำ �การทดลองซ้ำ �ได้ เนื่องจากมีหลักฐาน การทดลองโดยอ้างอิงทฤษฎีที่ถูกต้องได้อย่างน่าเชื่อถือ สามารถเปรียบเทียบทฤษฎีกับผลการทดลองได้ และบรรลุเป้าหมายของ การทดลองสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการทดลอง ทฤษฎีที่กล่าวอ้าง หลักฐานและเหตุผล ในการสนับสนุน ฝ่ายซักค้าน ใช้ข้อคำ �ถามที่ใช้ในการแข่งขันที่มาจากความเข้าใจนำ �ไปสู่การกล่าวอ้างได้จากเหตุผลและหลักฐานที่ฝ่าย ซักค้านได้นำ �เสนอ สามารถบรรลุข้อกล่าวอ้างของฝ่ายนำ �เสนอได้ สามารถจัดลำ �ดับการให้เหตุผลประกอบตามหลักฐานของตนเองได้ สามารถอภิปรายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ทฤษฎีที่กล่าวอ้าง หลักฐานและเหตุผลในการสนับสนุนของฝ่ายนำ �เสนอได้อย่าง ตรงประเด็น ฝ่ายวิพากษ์ สามารถถามคำ �ถามที่ตรงประเด็น ครบถ้วน จากประเด็นที่ฝ่ายนำ �เสนอให้หลักฐานและเหตุผลสนับสนุน และ ฝ่ายซักค้านที่ได้ให้เหตุผลและหลักฐานสนับสนุนเพื่อกล่าวอ้าง สามารถวิเคราะห์ประเด็นข้อดีและข้อเสียของฝ่ายนำ �เสนอและฝ่ายซักค้าน ได้ครบถ้วนสอดคล้องกันทุกหัวข้อ อภิปรายปิดท้ายตามความเห็นของตนเองได้และสามารถระบุหลักฐานและประเด็นสนับสนุนที่ ขาดหายไปของฝ่ายนำ �เสนอและฝ่ายซักค้านได้ ในทางการศึกษา (วรัญญา จีระวิพูลวรรณ,2564) การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ยังหมายถึง วิถีการคิด วิถีการสอน วิถี การเรียนรู้ หรือแม้แต่จะเป็นวิถีความร่วมมือ (Collaborating) ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นเหตุการณ์ที่บุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไปสนทนา มีการฟัง คิด แสดงความคิดเห็น ระบุจุดอ่อนของฝ่ายตรงกันข้าม สร้างและวิพากษ์ความรู้ มีการอภิปรายแนวคิด และการต่อรอง (Negotiating)ทำ �ให้เกิดการพิจารณาแนวคิดด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีตรรกะ และเหตุผล เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดและหลักฐาน เป็นการพัฒนาการประเมิน และตรวจสอบความถูกต้องทางตรง (Validation) ของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างความรู้ และวินิจฉัยลงข้อสรุปที่มีประสิทธิภาพ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์กับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของ PISA การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ หากมองในประเด็นของสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ (Science Competency) ตามกรอบการประเมิน PISA 2025 (กรอบการประเมินด้านวิทยาศาสตร์. PISA THAILAND สสวท., 2567) ที่ได้ ให้นิยามสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ไว้ว่า เป็นความสามารถของบุคคลที่มีส่วนร่วมในการอภิปรายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ความยั่งยืน และเทคโนโลยีได้อย่างสมเหตุสมผล เพื่อนำ �ไปสู่การลงมือกระทำ �ได้ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ 2) การออกแบบและประเมินกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยาน ในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณ และ 3) การศึกษาค้นคว้า ประเมิน และใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อการตัดสินใจและการ ลงมือกระทำ � ดังนั้น สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของ PISA ยิ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ โดยเมื่อทำ �การทดลองโจทย์ฟิสิกส์สัประยุทธ์ จะต้องมีการวางแผนศึกษาค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ ออกแบบการสืบเสาะ เพื่อการทดลอง เก็บผลการทดลอง และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อตัดสินใจ หาข้อสรุปและ ยืนยันผลการทดลองของตนเองว่าสามารถแก้ปัญหาโจทย์ปลายเปิดที่กำ �หนดไว้ได้อย่างไร มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างไร มีข้อจำ �กัด ในการทดลองอย่างไร โดยใช้หลักฐานและเหตุผลเชิงฟิสิกส์อย่างครอบคลุม ในการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ฝ่ายซักค้านที่ทำ �หน้าที่ ในการโต้แย้งจะมีส่วนช่วยยืนยันการแก้โจทย์ของฝ่ายนำ �เสนอว่าสามารถแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิง วิทยาศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ กระบวนการได้มาซึ่งผลการแก้โจทย์ปัญหาปลายเปิดของการแข่งขัน ฟิสิกส์สัประยุทธ์นั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ PISA กำ �หนดไว้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้ด้านเนื้อหา (Content Knowledge) ที่จะต้องศึกษาเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ที่หลากหลาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5