นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 33 ความสำ �คัญของการศึกษาเรื่องเซลล์ การศึกษาเรื่องเซลล์เปรียบเสมือนการเปิดประตูสู่โลกแห่งความลับ ของสิ่งมีชีวิตเพราะเซลล์คือ หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การทำ �ความเข้าใจเซลล์จึงเป็นเหมือนการไขรหัสชีวิต ซึ่งมีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติในหลายแง่มุม ดังนี้ 1. ความเข้าใจพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การศึกษาเซลล์ช่วยให้เรา เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระดับพื้นฐานที่สุด เราได้เรียนรู้ว่า เซลล์ประกอบด้วยส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น นิวเคลียส ไซโทพลาซึม ออร์แกเนลล์ต่างๆ และแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร การทำ �งานร่วมกันของ ส่วนประกอบเหล่านี้ทำ �ให้เซลล์มีชีวิตและทำ �หน้าที่ต่างๆ ได้ เช่น การสร้าง พลังงาน การสังเคราะห์โปรตีน การขนส่งสาร การกำ �จัดของเสีย 2. ความเข้าใจกลไกการทำ �งานของร่างกาย ในร่างกายของเรา ประกอบด้วยเซลล์หลายล้านล้านเซลล์ที่ทำ �งานร่วมกันอย่างเป็นระบบ การศึกษาเซลล์ช่วยให้เราเข้าใจว่าเซลล์ต่างๆ สื่อสารกันอย่างไร ควบคุม การทำ �งานของกันและกันอย่างไร และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร 3. การพัฒนาทางการแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับเซลล์มีบทบาทสำ �คัญ ในการพัฒนาทางการแพทย์ในหลายด้าน การศึกษาเซลล์ช่วยในการ วินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น การตรวจหาเซลล์มะเร็ง การตรวจความผิดปกติ ของโครโมโซม การตรวจหาเชื้อโรค และความเข้าใจในกลไกการเกิดโรค ในระดับเซลล์นำ �ไปสู่การพัฒนายาและการรักษาที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น 4. การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ การศึกษาเซลล์เป็นพื้นฐานสำ �คัญ ในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลผลิตสูงทนทานต่อโรคและแมลง การพัฒนา พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) 5. ความเข้าใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การศึกษาเซลล์ช่วยให้ เราเข้าใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไปจนถึง สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ซับซ้อน เราได้เรียนรู้ว่าเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาอย่างไรในช่วงวิวัฒนาการ และความหลากหลายของเซลล์ในสิ่งมีชีวิต ต่างๆ บทความนี้มีจุดประสงค์เสริมความรู้เพิ่มเติมเรื่องเซลล์จาก หนังสือเรียน โดยหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 บทที่ 3 ได้ กล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเซลล์และการทำ �งานของเซลล์ ซึ่งผู้เขียนได้อธิบาย ความสำ �คัญของการศึกษาเรื่องเซลล์และเชื่อมโยงด้านสุขภาพในกรณีที่ เกิดความผิดปกติของเซลล์ที่ทำ �ให้เกิดโรคมะเร็ง รวมไปถึงให้ผู้อ่านได้ รับทราบข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่ๆ ทำ �ให้ผู้อ่านได้รับข้อมูล วิทยาการทางการแพทย์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ในภาวะปกติเมื่อมีการแบ่งเซลล์ใหม่ ธรรมชาติก็มีการตาย ของเซลล์ ซึ่งถูกกำ �หนดด้วยโปรแกรมการตายของเซลล์ว่าเป็นกระบวนการ ที่เซลล์ทำ �ลายตัวเองอย่างมีระบบและควบคุมได้ที่เรียกว่า Apoptosis ซึ่ง เป็นกลไกสำ �คัญในการรักษาสมดุลการกำ �จัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือมีการ ติดเชื้อของอวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย หากยีนที่ควบคุมการตาย ไม่สามารถทำ �งานได้ตามปกติ มีการเพิ่มจำ �นวนเซลล์ที่ผิดปกติ ทำ �ให้เกิด การกลายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม จะส่งผลให้สมดุลดังกล่าวถูกรบกวนและ เกิดเนื้องอกหรือโรคมะเร็งขึ้นในที่สุด เนื้องอก (Tumor) คือ มวลเนื้อเยื่อผิดปกติ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ เจริญเติบโตและแบ่งตัวเร็วเกินไป เนื้องอกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของ ร่างกายและมีการเจริญเติบโตและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เนื้องอกที่ ไม่อันตรายเจริญเติบโตช้า ไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง และไม่ แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ รักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก มะเร็ง (Malignant Neoplasm) หรือเนื้องอกร้ายคือ การ เจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่มีการควบคุม เซลล์ เหล่านี้สามารถบุกรุกเนื้อเยื่อข้างเคียง และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของ ร่างกายผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบน้ำ �เหลือง เป็นอันตรายต่อชีวิตหาก รักษาไม่ถูกต้องและทันท่วงที มะเร็งสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดตาม แหล่งกำ �เนิดและลักษณะทางเซลล์วิทยา ได้แก่ 1. Carcinoma มะเร็งชนิดนี้เกิดจากเนื้อเยื่อบุผิว เช่น ผิวหนัง อวัยวะภายใน และระบบทางเดินอาหาร 2. Sarcoma เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูก กล้ามเนื้อ 3. Lymphoma เป็นมะเร็งของระบบน้ำ �เหลือง เช่น ต่อมน้ำ �เหลือง 4. Leukemia มะเร็งในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกิดขึ้นในไขกระดูก ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ภาพ 1 ความแตกต่างของเนื้องอกและมะเร็ง ที่มา: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22319-malignant-neoplasm ทำ �ไมเซลล์จึงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง? การที่เซลล์ปกติกลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็งเป็นกระบวนการที่ ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในระดับพันธุกรรม และระดับเซลล์ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการสะสมของ การเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอน ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว สาเหตุ หลักๆ ที่ทำ �ให้เซลล์กลายเป็นเซลล์มะเร็งมีดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) การกลายพันธุ์ของยีน (Gene Mutations) DNA ภายในเซลล์มีข้อมูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5