นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
34 นิตยสาร สสวท. ทางพันธุกรรมที่ควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการตายของเซลล์ เมื่อ DNA เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์ (Mutation) โดยเฉพาะ ในยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวงจรเซลล์ (Cell Cycle) การซ่อมแซม DNA (DNA Repair) หรือการตายของเซลล์แบบอะพอพโทซิส (Apoptosis) เซลล์นั้นอาจเริ่มเติบโตและแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ 2. การเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ (Cellular Changes) การ แบ่งตัวแบบไม่ควบคุม (Uncontrolled Cell Growth and Division) เซลล์มะเร็งสูญเสียการควบคุมการแบ่งตัวทำ �ให้แบ่งตัวอย่างรวดเร็วและ ไม่เป็นระเบียบ ก่อตัวเป็นก้อนเนื้อ (Tumor) กลไกการเกิดโรคมะเร็ง เมื่อเซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งทำ �ให้เซลล์เหล่านี้เจริญเติบโต และแบ่งตัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้ และสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ จึงสรุปกลไกการเกิดโรคมะเร็ง ดังนี้ 1. ระยะเริ่มต้น (Initiation) เป็นระยะแรกหลังสัมผัสสารก่อมะเร็ง และสารก่อมะเร็งชนิดทำ �ลายพันธุกรรม (Genotoxic Carcinogen) จะเข้าไป ทำ �ลายดีเอ็นเอของเซลล์ปกติทำ �ให้เกิดการกลายพันธุ์ในยีนที่ควบคุม การเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ทำ �ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสาร พันธุกรรมอย่างถาวรในเซลล์ ก่อให้เกิดเซลล์ต้นกำ �เนิดของมะเร็ง เซลล์ที่มี การกลายพันธุ์นี้เรียกว่า “เซลล์เริ่มต้น” (Initiated Cell) ซึ่งเซลล์เริ่มต้น อาจไม่มีลักษณะผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ชัดในระยะนี้ 2. ระยะกระตุ้น (Promotion) สารก่อมะเร็งชนิดกระตุ้นการ เจริญเติบโต (Tumor Promoting Carcinogen) เช่น ฮอร์โมนบางชนิด หรือ สารเคมีบางชนิด จะกระตุ้นให้เซลล์เริ่มต้นแบ่งตัวเพิ่มจำ �นวนเกิดเป็นกลุ่ม ของเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ โครงสร้างของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเหล่านี้เรียกว่า “ตุ่มก่อนมะเร็ง” (Preneoplastic Lesion) 3. ระยะลุกลาม (Progression) เซลล์มะเร็งจะแสดงพฤติกรรม ที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การรุกลามไปยัง เนื้อเยื่อข้างเคียง และการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายโดยเพิ่ม อัตราการแบ่งตัวของเซลล์ และเพิ่มความไม่เสถียรของพันธุกรรม (Genomic Instability) จากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าโรคมะเร็งปอดพบบ่อยมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย เนื่องจากเพศชายมีความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ และปัจจุบันยังมีปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ยิ่งเป็นปัจจัยเพิ่มโอกาส เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างโรคมะเร็งปอดเป็นกรณีศึกษา ในบทความนี้ สำ �หรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำ �บัด ยามุ่งเป้า ภูมิคุ้มกันบำ �บัด ภูมิคุ้มกันบำ �บัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาโรคมะเร็ง โดยอาศัยหลักการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำ �งานเองอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถต่อสู้และกำ �จัดเซลล์มะเร็งได้ ซึ่ง วิธีนี้ต่างจากเคมีบำ �บัดที่ทำ �ลายเซลล์ทุกชนิด ภูมิคุ้มกันบำ �บัดจะโจมตี เฉพาะเซลล์มะเร็ง ทำ �ให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า และในระยะยาวมีการ ภาพ 2 กลไกการเกิดโรคมะเร็ง ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/Mechanism-of-chemical-carcinogenesis-The-three-stages-of-carcinogenesis-initiation_fig2_286340165 ตอบสนองต่อการรักษามักจะอยู่ได้นาน ทำ �ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีภูมิคุ้มกันบำ �บัดกำ �ลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการค้นพบวิธี การใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เสมอ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งปอดด้วยภูมิคุ้มกันบำ �บัด ภูมิคุ้มกันบำ �บัดเป็นกลุ่มยาใหม่ในการรักษามะเร็งปอดและ มะเร็งชนิดอื่นๆ โดยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกาย ต่อต้านมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบำ �บัดแสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยยืดอายุขัยในบางชนิด และระยะของมะเร็งปอด ภูมิคุ้มกันบำ �บัดมะเร็งปอดได้รับการอนุมัติจาก องค์การอาหารและยา (FDA) เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 และนับตั้งแต่นั้นมา ได้กลายเป็นการรักษามะเร็งปอดใหม่ที่สำ �คัญสำ �หรับมะเร็งปอดระยะเริ่มแรก และระยะลุกลาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5