นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 43 สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสมรรถนะใหม่ ที่เริ่มสอบในครั้งนี้ เน้นกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และ การนำ �องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (ภาพ 2) ซึ่งสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 ด้าน คือ การอธิบาย ผลกระทบจากการกระทำ �ของมนุษย์ที่มีต่อระบบโลก การตัดสินใจเพื่อการ ลงมือกระทำ �ด้วยข้อมูล โดยใช้การประเมินแหล่งข้อมูลของประจักษ์พยาน ที่หลากหลายและการประยุกต์ใช้การคิดเชิงสร้างสรรค์และการคิดเชิงระบบ เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน การแสดงถึงความมุ่งหวังและเคารพ ต่อมุมมองที่หลากหลายในการแสวงหาทางออกของปัญหาจากวิกฤตการณ์ ทางด้านนิเวศวิทยาเชิงสังคม (Socio-ecological Crisis) โดยถือว่ามนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม จึงจำ �เป็นต้องมีส่วนร่วมในการดูแลหรือรักษา สิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพที่ดี โดยมีส่วนร่วมทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก สำ �หรับโครงการ GLOBE ซึ่งเป็นโครงการวิทยาศาสตร์และการศึกษา นานาชาติมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่น (Passionate) ด้านสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายที่จะเพิ่มความตระหนักรู้ด้าน สิ่งแวดล้อม เพิ่มความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Understanding) เกี่ยวกับโลก และสนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้นักเรียน ซึ่งการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการทำ �งานวิจัย ประกอบด้วย การสังเกต สำ �รวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว การตั้งคำ �ถาม การวางแผนการทำ �งาน เพื่อตอบคำ �ถาม การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล การอภิปรายข้อมูลที่พบ จากการเก็บข้อมูล และการนำ �เสนอข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยให้ผู้อื่นได้ทราบ และนำ �ไปสู่การสังเกตเพื่อทำ �งานวิจัยต่อไป (ภาพ 3) ขั้นตอนเหล่านี้จะ เสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียน รวมทั้งสามารถ เสนอแนะวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ สพฐ. และ สสวท. เลือกกิจกรรมของ GLOBE จำ �นวน 2 กิจกรรม จากหนังสือกิจกรรมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 มาเป็นชุดพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เล่มที่ 6 กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คือ ชุดที่ 1 เรื่องที่ 1 ลมฟ าอากาศและภูมิอากาศ กิจกรรมที่ 1.1 ลมฟ าอากาศและภูมิอากาศกับการดํารงชีวิต รายละเอียดกิจกรรมจะ ส่งเสริมการทำ �ความเข้าใจเบื้องต้นในความหมายของลมฟ้าอากาศและ ภูมิอากาศ การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญา รวมทั้งการนำ �ข้อมูล ไปใช้ในชีวิตประจำ �วัน และชุดที่ 2 เรื่องที่ 4 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กิจกรรมที่ 4.1 ภูมิอากาศในป จจุบันกับปริมาณแก สเรือนกระจกใน ชั้นบรรยากาศ โดยสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและดาวน์โหลดเอกสารและสื่อ ได้ที่ https://d2ieq.ipst.ac.th/ ภาพ 3 Steps in the Scientific Process ที่มา GLOBE PROGRAM ส่วนการเสริมความรู้ เสริมสร้างศักยภาพของครูและบุคลากร ทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะทาง วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงการ GLOBE ได้จัดอบรมครูทางออนไลน์ผ่าน โปรแกรม Zoom Video Conference และถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live จำ �นวน 3 หัวข้อ คือ 1. หัวข้อ PISA 2025 กับ สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.30 - 12.00 น. บรรยายโดย อาจารย์ธันยากานต์ กุลศุภกร รักษาการผู้ช่วยผู้อำ �นวยการ สสวท. และ อาจารย์เอกรินทร์ อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้ชำ �นาญสาขาประเมินผลทางการศึกษา โดยการอบรมนี้ได้สรุปภาพรวมของการประเมิน PISA 2025 และกรอบ การประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 2. หัวข้อกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะทาง วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5