นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

46 นิตยสาร สสวท. ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำ �ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวคือ นโยบายของผู้บริหาร สพป. M ในส่วนของการเตรียมความพร้อม ของนักเรียนเพื่อเข้ารับการทดสอบ O-NET โดยการสอนพิเศษ หรือ “การติว” ให้แก่นักเรียน ซึ่ง สพป. M ได้จัดให้มีการสอนพิเศษหลายระดับ ได้แก่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับกลุ่มโรงเรียน และระดับโรงเรียน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในสังกัด สพป. M เป็นรายโรงเรียน พบว่า การสอนพิเศษในบางโรงเรียน ทำ �ให้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ แต่ การสอนพิเศษในบางโรงเรียนไม่ได้ทำ �ให้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมาที่พบว่าข้อสรุป เกี่ยวกับประสิทธิผลของการสอนพิเศษยังไม่ชัดเจน (Horton, 2010; Lee, 2012) ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่าการสอนพิเศษที่จะประสบ ความสำ �เร็จได้นั้นจำ �เป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ สนับสนุนด้วย ได้แก่ ความรู้ ในเนื้อหาวิชาที่ครูสอน การดำ �เนินงานของโรงเรียน การสนับสนุนของ ผู้ปกครอง และพื้นฐานความรู้ของนักเรียน ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ ชื่อครูที่ระบุในบทความนี้เป็นชื่อที่ผู้เขียนได้สมมุติขึ้น การสอนพิเศษ ในที่นี้ การสอนพิเศษ หมายถึง การสอนเทคนิคการทำ �ข้อสอบ โดยนำ �ข้อสอบเก่าๆ ที่เผยแพร่แล้ว เช่น ข้อสอบ O-NET หรือข้อสอบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาวิเคราะห์ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง โดยใช้ความรู้และทักษะกระบวนการ ที่ครูได้สอนนักเรียนไปแล้ว เพื่อให้นักเรียนได้คุ้นเคยกับแนวข้อสอบ O-NET รวมทั้งเป็นการทบทวนความรู้ที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วด้วย “... การติวเหมือนกับการฝึกเด็กในการทำ �ข้อสอบ เด็กก็จะรู้เทคนิควิธีทำ �บางทีเราก็แนะ ถ้าไม่ติวเลย เด็กก็ไม่รู้แนวว่าจะทำ �ยังไง ...” ครูสุชาดา สอนวิทยาศาสตร์ “... บางทีเด็กก็ตกใจข้อสอบเหมือนกันนะ การที่ ให้เด็กทำ �ข้อสอบบ่อยๆก็น่าจะดีกว่าที่เด็กไม่คุ้นชิน ข้อสอบ ...” ครูเจริญ สอนคณิตศาสตร์ “... โอเน็ตเค้าจะย้อนสามปี บางทีเด็กเค้าลืม เรียนตั้งแต่ ม.1 พอ ม.3 ถามอีกทีก็ไม่รู้แล้ว ว่าเรียนอะไรมา ...” ครูสุริสา สอนวิทยาศาสตร์ การสอนพิเศษให้แก่นักเรียนโดยนำ �ข้อสอบเก่าๆ ที่เผยแพร่แล้ว มาวิเคราะห์ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างในลักษณะนี้อาจจะไม่ประสบความสำ �เร็จ ถ้าข้อสอบจริงได้เปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากข้อสอบเก่า เช่น ข้อสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในปีการศึกษา 2551 - 2553 มีการ เปลี่ยนแปลงลักษณะของข้อสอบทุกปี ดังนี้ ลักษณะข้อสอบ ปรนัย 4 ตัวเลือก คำ �ตอบถูก 1 ตัวเลือก ปรนัย 6 ตัวเลือก คำ �ตอบถูก 2 ตัวเลือก ปรนัย 9 ตัวเลือก คำ �ตอบถูก 1 ตัวเลือก ระบายตัวเลข รวม 40 ข้อ - - - 40 ข้อ 32 ข้อ 5 ข้อ - - 37 ข้อ 12 ข้อ - - 3 ข้อ 15 ข้อ 30 ข้อ - - - 30 ข้อ 25 ข้อ - 5 ข้อ - 30 ข้อ 15 ข้อ - - 5 ข้อ 20 ข้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5