นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 47 “... เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กเราที่เค้าเหลือ เค้าไม่ไปไหนแล้ว พอจบ ป.6 ถ้าคนไหนพ่อแม่มีสตางค์ เด็กเรียนดี ก็จะไป หมด ...” ครูสมศรี สอนคณิตศาสตร์ “... เราเจอเด็กโรงเรียนอื่นบ้าง ค่อนข้างโอเค ดูจะสนใจกว่า เด็กเราเสียอีก แล้วเด็กเราก็ไปตื่นเต้นกับครูโรงเรียนอื่น ก็ดี เหมือนกัน ให้เด็กรู้วิธีการที่แตกต่างบ้าง …” ครูวรรณา สอนคณิตศาสตร์ “... นักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีปัญหา เรื่องครอบครัวบ้าง เรื่องการเงินบ้าง ไม่สามารถไปต่อที่โรงเรียนประจำ �อำ �เภอ โรงเรียน มัธยมล้วนได้ ...” ครูพรใจ สอนวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงลักษณะของข้อสอบเช่นนี้เป็นประจำ � อาจจะส่งผล ให้นักเรียนทำ �ข้อสอบไม่ได้ถึงแม้ว่านักเรียนจะมีความรู้ในเนื้อหาเป็นอย่างดี เนื่องจากนักเรียนไม่คุ้นเคยกับลักษณะข้อสอบ คำ �ว่า “การสอนพิเศษ” ในที่นี้มีความหมายใกล้เคียงกับคำ �ว่า “การกวดวิชา” แต่ “การกวดวิชา” มีความหมายที่กว้างกว่า คือ การเรียน การสอนที่เพิ่มเติมจากชั้นเรียนปกติ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2545; สุวิมล จีระทรงศรี, 2552) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลายคนมีความรู้สึกว่า “การกวดวิชา” หรือ “การสอนพิเศษ” หรือที่ผู้ให้ข้อมูลเรียกว่า “การติว” มีความหมายในเชิงลบ เนื่องจากครูมีหน้าที่สอนในชั้นเรียนปกติอยู่แล้ว แต่ต้องมาสอนเพิ่มเติมให้ แก่นักเรียนอีก ทำ �ให้เกิดข้อตำ �หนิว่าครูทำ �หน้าที่ของตนเองได้ยังไม่ดีพอ ข้อตำ �หนิดังกล่าวอาจจะไม่เป็นธรรมกับครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนสังกัด สพป. M และอาจจะรวมถึงโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ด้วย เนื่องจากครูต้องรับผิดชอบ สอนนักเรียน “ด้อยโอกาส” เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มีพื้นฐาน ครอบครัวหรือฐานะทางสังคมต่ำ �กว่านักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ งานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (เอื้อมพร หลินเจริญ สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ ภีรภา จันทร์อินทร์, 2552; Martin, et al., 2012; Mullis, et al., 2012; OECD, 2010) ดังนั้น นโยบายการสอนพิเศษให้แก่ นักเรียน “ด้อยโอกาส” ของ สพป. M จึงสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2545, น. 97) ที่ระบุว่า “ควรเติมเต็มสิ่งเหล่านี้ให้กับ เด็กต่างจังหวัดด้วยการจัดบริการให้ในโรงเรียนเองหรือแหล่งกลางที่เด็กมาได้ แต่นโยบายนี้ควรเป็นนโยบายเฉพาะหน้าและควรจัดเป็นช่วงสั้นๆ เพื่อ เป้าหมายเฉพาะ” การสอนพิเศษที่ทำ �ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัด สพป. M ในปีการศึกษา 2554 เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่ ระดับกลุ่มโรงเรียน ซึ่งมี วัตถุประสงค์ที่สำ �คัญคือ การแลกเปลี่ยนครูระหว่างโรงเรียน เพื่อให้นักเรียน มีโอกาสได้รับการสอนจากครูในโรงเรียนอื่น ทำ �ให้นักเรียนได้รู้เทคนิคการ ทำ �ข้อสอบที่หลากหลายมากกว่าการสอนพิเศษระดับโรงเรียน ส่วนการสอน พิเศษระดับเขตพื้นที่ต้องสอนนักเรียนจำ �นวนมาก จึงอาจจะทำ �ให้นักเรียน ส่วนหนึ่งไม่มีสมาธิและไม่เข้าใจในเนื้อหาที่สอนได้ การดำ �เนินการสอนพิเศษระดับกลุ่มโรงเรียนในแต่ละกลุ่มมี ความแตกต่างกัน แต่ก็อาจจะทำ �ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนได้เช่นเดียวกัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย) เช่น บางกลุ่มให้ นักเรียนของแต่ละโรงเรียนในกลุ่มเดินทางไปยังโรงเรียนที่เป็นศูนย์สอนพิเศษ บางกลุ่มให้ครูของแต่ละโรงเรียนเดินทางไปสอนนักเรียนของโรงเรียนอื่นที่อยู่ ในกลุ่ม บางกลุ่มเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาสอนนักเรียนในกลุ่มด้วย ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนของครู ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการสอนพิเศษในที่นี้หมายถึงการสอน เทคนิคการทำ �ข้อสอบให้แก่นักเรียน ดังนั้น ถ้านักเรียนมีความเข้าใจใน เนื้อหาวิชาและเทคนิคการทำ �ข้อสอบเป็นอย่างดีแล้ว นักเรียนก็ย่อมจะมี โอกาสทำ �คะแนนสอบได้สูง แต่ถ้านักเรียนมีความเข้าใจในเทคนิคการทำ � ข้อสอบเพียงอย่างเดียวโดยขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชา นักเรียนก็จะทำ � ข้อสอบไม่ได้ ส่งผลให้คะแนนสอบอยู่ในเกณฑ์ต่ำ � สำ �หรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพป. M แล้ว ครูมีความสำ �คัญ ต่อความเข้าใจในเนื้อหาวิชาของนักเรียนอย่างยิ่ง เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์และครูที่ สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัด สพป. M พบว่า ครูหลายคนยอมรับว่ายังไม่เข้าใจเนื้อหาที่สอนในบางเรื่อง ซึ่งมีผล ต่อการสอนในชั้นเรียนปกติรวมทั้งการสอนพิเศษด้วย เนื่องจากครูบางคน ไม่สามารถเฉลยคำ �ตอบของข้อสอบเก่าบางข้อได้ด้วยตนเอง ต้องดูคู่มือหรือ ให้คนอื่นช่วยเฉลยคำ �ตอบให้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5