นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
48 นิตยสาร สสวท. “... ส่วนมากไม่มีพ่อแม่ดูแล การบ้านไม่ต้องห่วง ไม่มีการทำ � เวลาประชุมผู้ปกครอง ก็มารับรู้ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ครู ...” ครูประกิตศรี สอนคณิตศาสตร์ “... บางตัวเราไม่ถนัด ตอนเฉลยโอเน็ต เราไม่เคย นึกไม่ออก มายังไง การคำ �นวณหากระแสไฟฟ้า ...” ครูปริญญา สอนวิทยาศาสตร์ “... โรงเรียนจัดสอนเสริมตอนเย็นให้เด็กบางส่วนที่อ่อนจริงๆ ผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือก็มี ที่ไม่ให้ก็มี บางคนต้องไป ทำ �งานตอนเย็น ต้องรับลูกเข้าบ้าน ...” ครูพรทิพย์ สอนวิทยาศาสตร์ “... เด็กทำ �กิจกรรมเยอะมาก เวลาจะติวก่อนสอบก็ไม่มี เพราะ เด็กไปเข้าค่าย ไปธรรมะ ...” ครูวิทยา สอนคณิตศาสตร์ “... บางทีเรียกมาคุยเป็นรายคน เด็กบางคนอยู่ถึงสี่โมงครึ่ง ผู้ปกครองก็จะมารอ ก็จะถามผู้ปกครองว่ารีบมั้ย ถ้าไม่รีบก็ จะขอเวลา ...” ครูแก้วตา สอนคณิตศาสตร์ “... เราจะบอกผู้ปกครองว่าถ้านักเรียนไม่ทำ �การบ้านมา ครู ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเด็กเรียนแล้วเข้าใจมั้ย รู้มั้ย ...” ครูปัญญา สอนคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การสอนพิเศษระดับกลุ่มโรงเรียนอาจจะช่วยแก้ปัญหา นี้ได้ โดยการให้ครูภายในกลุ่มหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีความรู้ช่วย สรุปเนื้อหาที่สำ �คัญให้นักเรียนก่อนการสอนเทคนิคทำ �ข้อสอบ การดำ �เนินงานของโรงเรียน ในปีการศึกษา 2554 ทุกโรงเรียนในสังกัด สพป. M ได้จัด ให้มีการสอนพิเศษตามนโยบายของ สพป. M แต่ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนแต่ละแห่งมีนโยบายการสอนพิเศษที่แตกต่างกัน เช่น บางโรงเรียน มีการสอนพิเศษอยู่กับกลุ่มโรงเรียนกลุ่มเดิม บางโรงเรียนได้เปลี่ยนกลุ่ม โรงเรียน บางโรงเรียนดำ �เนินการสอนพิเศษเองโดยไม่ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม โรงเรียน บางโรงเรียนไม่ได้มีการสอนพิเศษหรือมีเวลาที่สอนพิเศษน้อยลง เนื่องจากนักเรียนต้องทำ �กิจกรรมมาก เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัด สพป. M ที่ไม่ได้มีการสอนพิเศษในปีการศึกษา 2555 พบว่า คะแนนสอบ O-NET ของทุกโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยระดับโรงเรียนต่ำ �กว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ และ เมื่อพิจารณาเฉพาะโรงเรียนสังกัด สพป. M ที่มีค่าเฉลี่ยระดับโรงเรียน ในปีการศึกษา 2555 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า ทุกโรงเรียน ได้ดำ �เนินการสอนพิเศษในปีการศึกษา 2555 ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2554 ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการดำ �เนินงานของโรงเรียนในการสอนพิเศษ ตามนโยบายของ สพป. M จึงเป็นปัจจัยที่สำ �คัญประการหนึ่งในการยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสนับสนุนของผู้ปกครอง Kreider, et al. (2007) ระบุว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของ ครอบครัว (ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและ โรงเรียน และความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้) มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ ของนักเรียน ดังนั้น ผู้ปกครองจึงมีส่วนสำ �คัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่มีพื้นฐานความรู้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ � ผู้ปกครอง ควรจะเอาใจใส่ดูแลนักเรียนหรืออนุญาตให้นักเรียนได้เรียนซ่อมเสริม นอกเวลาเรียน โรงเรียนหลายแห่งในสังกัด สพป. M ได้ขอความร่วมมือจาก ผู้ปกครองและได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี เช่น บางโรงเรียน ขออนุญาตผู้ปกครองให้นักเรียนได้เรียนซ่อมเสริมหรือเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือในวันหยุด บางโรงเรียนได้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้กวดขัน นักเรียน อย่างไรก็ตาม บางโรงเรียนไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองบางคนไม่มีเวลาที่จะดูแลนักเรียน ผู้ปกครองบางคน ไม่ให้ความสำ �คัญกับการเรียน จึงทำ �ให้โรงเรียนหลายแห่งไม่สามารถทำ �ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ “... เราไม่ได้เข้าใจทุกเรื่อง เพราะเราไม่ได้จบเอกคณิตศาสตร์ ไม่สามารถอธิบายเด็กได้ บางเรื่องข้ามก็มี ...” ครูจินตนา สอนคณิตศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5