นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 49 “... การติวช่วยได้บ้างสำ �หรับเด็กเก่ง แต่เด็กอ่อนก็ไม่ได้ ...” ครูกิตติชัย สอนคณิตศาสตร์ “...เราสอนให้วิเคราะห์โจทย์วิเคราะห์ตัวเลือกทีละข้อเด็กที่ได้ ก็จะได้ แต่ที่เด็กไม่ได้ก็จะไม่เอาอะไรเลย บางคนเห็นโจทย์ก็ ไม่อ่านเลย บางทีก็นอน ...” ครูสิริ สอนวิทยาศาสตร์ “... เด็กรุ่นที่ได้คะแนนดี จะบอกว่าเด็กเป็นปัจจัยหนึ่งก็ได้ เพราะว่าค่อนข้างจะไม่ค่อยดื้อเท่าไหร่ ไม่นอกลู่นอกทาง มีคนที่เค้าเก่ง เค้ารับได้ เค้าอาจจะช่วยเหลือกันในส่วนหนึ่ง แต่รุ่นที่ผ่านมา (ผลสัมฤทธิ์ต่ำ �) ครูทุกวิชาแทบไม่อยาก เข้าห้อง ...” ครูจันทร์เพ็ญ สอนวิทยาศาสตร์ “... พื้นฐานของเด็กต่างกัน เด็กปีที่แล้ว (ผลสัมฤทธิ์สูง) เรียนดี ตั้งใจ ปีนี้ (ผลสัมฤทธิ์ต่ำ �) แทบจะไม่มีตั้งใจเรียนเลย ...” ครูขจรศักดิ์ สอนคณิตศาสตร์ พื้นฐานความรู้ของนักเรียน ครูที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่านักเรียนในแต่ละ ปีการศึกษามีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ถ้ามีนักเรียนบางคนที่พอจะช่วย เหลือทางวิชาการแก่เพื่อนๆ ได้ อาจจะทำ �ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ปีการศึกษานั้นสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมของนักเรียนก็มีส่วนทำ �ให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละปีการศึกษาแตกต่างกันด้วย นอกจากนี้ นักเรียนที่มีพื้นฐานความรู้ดี เมื่อได้รับการสอนพิเศษ เกี่ยวกับเทคนิคการทำ �ข้อสอบก็จะเข้าใจได้ดีกว่านักเรียนที่มีพื้นฐานความรู้ ไม่ดี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ควรกำ �หนดให้เป็นความ รับผิดชอบของโรงเรียนเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย ผู้เขียนจึงขอเสนอว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรเพื่อจัดตั้ง หน่วยงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชุมชนต่างๆ เพื่อช่วยลดภาระ การดำ �เนินงานของโรงเรียน (โดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา) ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าวจะต้องได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนและชุมชน ในการดำ �เนินงานเพื่อสอนซ่อมเสริมและสอนพิเศษให้แก่นักเรียนด้อยโอกาส ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนหรือวันหยุด นอกจากนี้ บุคลากรที่ทำ �หน้าที่สอน ซ่อมเสริมและสอนพิเศษ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและ ประสบการณ์การสอนอยู่ในระดับสูง และได้รับการอบรมเพื่อทำ �หน้าที่เป็น ผู้สอนซ่อมเสริมและสอนพิเศษโดยเฉพาะ เมื่อหน่วยงานดังกล่าวได้จัดตั้งขึ้นและทำ �หน้าที่ได้เป็นอย่างดีแล้ว ครูในโรงเรียนก็ควรจะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ด้วย โดยเฉพาะ การพัฒนาตนเองในด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและความรู้ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการสอน เพื่อนำ �ไปใช้พัฒนานักเรียนให้ได้มาตรฐานตามที่ได้กำ �หนด ไว้ในหลักสูตรต่อไป Horton, T. D. (2010). The Effect of an Afterschool Program on Standardized Testing and Behavior of Middle School at-risk Students in a Rural County in Georgia . Doctoral dissertation, Liberty University. Kreider, H. & Margaret, C. & Kennedy, S. & Weiss, H. (2007). Family Involvement in Middle and High School Students’ Education . Harvard Family Research Project, Harvard Graduate School of Education. Lee, T. (2012). The Impact of Afterschool Programs on the Academic Achievement of Middle School Students . Master’s Research Project, Ohio University. Martin, M. O. & Mullis, I. V. S. & Foy, P. & Stanco, G. M. (2012). TIMSS 2011 International Results in Science . TIMSS & PIRLS International Study Center, Boston College, Chestnut Hill, MA. Mullis, I. V. S. & Martin, M. O. & Foy, P. & Arora, A. (2012). TIMSS 2011 International Results in Mathematics. TIMSS & PIRLS International Study Center, Boston College, Chestnut Hill, MA. OECD (2010). PISA 2009 Results: overcoming social background – equity in learning opportunities and outcomes (volume II) . OECD Publishing. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย . กรุงเทพมหานคร: สำ �นักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ . พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำ �นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวิมล จีระทรงศรี. (2552). ผลสัมฤทธิ์ของการกวดวิชาและการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ . วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. เอื้อมพร หลินเจริญ สิริศักดิ์ อาจวิชัย ภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำ �ให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ � . สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5