นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 5 การเสริมสร้าง ความเชื่อมั่น ในความสามารถ ทาง วิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ภาพจาก: https://futureeducationmagazine.com/teaching-climate-change-in-all-subject/ ชลิตา เครือแหยม | ภัทรวดี เงื่อนจันทอง | นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรศึกษาศาตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | e-mail: chalita.kr@ku.th , pattarawadee.ng@ku.th รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ | รศ. ดร.จีระวรรณ เกษสิงห์ | อาจารย์ประจำ �สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่ยากสำ �หรับหลายคนเพราะเนื้อหามีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับความรู้ หลายด้าน เช่น การคิดเชิงตรรกะ การคำ �นวณ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้มักต้องใช้การคิด วิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และบางเรื่องก็ยากจะมองเห็นหรือเข้าใจได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนก้าวเข้าสู่การศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น ทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็จะมีความยากและความซับซ้อนเพิ่มขึ้น การอธิบาย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติต้องใช้ความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจไม่สามารถสังเกตเห็น ได้ด้วยตาเปล่า หรือต้องใช้การคำ �นวณและการทดลองที่ต้องการความละเอียดและความแม่นยำ � ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวถึง รายวิชาวิทยาศาสตร์ผู้เรียนส่วนใหญ่มักปิดกั้นความสามารถในการรับรู้ของตนเอง กระทั่งส่งผลกระทบต่อทัศนคติ ในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ครูจึงมีหน้าที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถทางวิทยาศาสตร์ให้กับ ผู้เรียน ี ที่ ั บี่ ุ มั น ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5