นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

50 นิตยสาร สสวท. ชนาธิป จันทร์สอง | นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | email: chanathip.jans@ku.th รศ. ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน | ผศ. ดร.เอกภูมิ จันทรขันตี | ดร.อรุณี เอี่ยมใบพฤกษ์ | อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดกิจกรรม การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในปัจจุบันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถช่วยให้เกิดการบูรณาการเกี่ยวกับ เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs)ที่มีความมุ่งหวังให้ทั่วโลกบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ในปี2030(UNESCO,2024) การจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตสำ �นึก สร้าง ความตระหนักรู้และการตื่นตัวของเยาวชนรุ่นใหม่ให้มองเห็นความสำ �คัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัว อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และการกระทำ �ของมนุษย์ (Leicht et al, 2018) โดยเฉพาะ ประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ จึง มีการให้ความสำ �คัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อรักษาและส่งต่อแนวคิด การอนุรักษ์และใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่ให้ประชากรรุ่นต่อไปอย่างยั่งยืนในอนาคต (Watabe et al, 2023) ใ นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ผู้เขียนได้รับคัดเลือกจากสำ �นักความสัมพันธ์ ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นตัวแทนครูของประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Environmental Education for Sustainable Development: EESD) ประจำ �ปี 2023 ซึ่งจัดโดย SEAMEO QITEP on Science ณ เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 22 - 31 สิงหาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมจำ �นวน 50 คน จากทั้งหมด 6 ประเทศ ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา ติมอร์-เลสเต และ มาเลเซีย โดยทั้งหมดเป็นครูวิทยาศาสตร์จากโรงเรียน ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษา รวมระยะเวลาในการอบรมทั้งสิ้น 12 วัน ซึ่งเป็นการอบรมทั้งในรูปแบบของการอบรมเชิงทฤษฎี กิจกรรม ภาคปฏิบัติ การทัศนศึกษาดูงานโรงเรียนในประเทศอินโดนีเซีย และการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ภายหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม โดยประเด็นที่เป็น แกนหลักในการอบรมครั้งนี้ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ 17 เป้าหมาย ซึ่งครอบคลุมประเด็นทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนและส่งต่อให้ ประชากรในรุ่นถัดไป ซึ่งประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และภาวะโลกเดือด โลกร้อน ที่ ทำ �ให้ระดับน้ำ �ทะเลสูงขึ้น ประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น และปัญหา แผ่นดินทรุดจากการขุดเจาะน้ำ �บาดาลในเกาะชวาที่ทำ �ให้แผ่นดินในกรุง จาร์กาตาซึ่งเป็นเมืองหลวงทรุดตัวลง และมีความเสี่ยงในการจมลงสู่ใต้ทะเล (Environmental Education for Sustainable Development: EESD) ภาพจาก: https://cpduk.co.uk/news/navigating-the-distinction-between-environmental-education-ee-and-education-for-sustainable-development-esd

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5