นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
52 นิตยสาร สสวท. 2. กิจกรรมการเรียนรู้หลักการทำ �งานของระบบนิเวศด้วยการทำ � สวนขวดระบบนิเวศแบบปิด (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่บูรณาการแนวคิดของสิ่งแวดล้อมศึกษาใน วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ชีววิทยามัธยมต้น) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ วิทยาศาสตร์ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในเรื่องของ บทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศ องค์ประกอบของระบบนิเวศ และปัจจัยที่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ด้วยการสร้างระบบนิเวศจำ �ลอง ในสวนขวดและทำ �การดูแลสวนขวดของนักเรียนรายบุคคลเพื่อสังเกตการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในระบบนิเวศจำ �ลอง และเชื่อมโยงไปยังเรื่องของ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรม 1. การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของระบบนิเวศ 2. การระบุองค์ประกอบของสวนขวด ที่เป็นตัวแทนของการ ศึกษาระบบนิเวศแบบปิด 3. การลงมือปฏิบัติในการทำ �สวนขวด เพื่อศึกษาการทำ �งาน ของระบบนิเวศรายบุคคล ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต มีการหมุนเวียนแร่ธาตุ และสารอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภาพจาก https://cdn.shopify.com/s/ files/1/0625/3448/4174/files/Terrarium_Lay- ers_1.png?v=1672288870 กรวด หิน ทำ �หน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ �ใต้ดิน ดิน ทำ �หน้าที่เป็นแหล่งอินทรียวัตถุให้พืชเจริญเติบโต จุลินทรีย์ในดิน เปลี่ยนสารอินทรีย์ ไปเป็นสารอนินทรีย์ พืช เป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต ทำ �หน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงเปลี่ยนจาก สารอนินทรีย์ ไปเป็นสารอินทรีย์ น้ำ � ทำ �หน้าที่เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การดูแลสวนขวดจะต้องให้สวนขวดนั้นได้รับแสงแดดเป็นเวลา 8 - 12 ชั่วโมงต่อวัน โดยนักเรียนจะนำ �สวนขวดนั้นกลับไปดูแลที่บ้านเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตของพืชในสวนขวด ของนักเรียน ภาพ 3 - 4 กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบนิเวศจำ �ลอง (สวนขวด) โดยใช้ ระยะเวลาในการดำ �เนินกิจกรรมทั้งหมด 2 เดือน 4. การติดตามผลการดูแลสวนขวดและการเชื่อมโยงไปยัง เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงโดยได้รับผลกระทบมาจากปริมาณ แสงแดดที่มากเกินไป ทำ �ให้อุณหภูมิภายในขวดแก้วสูงขึ้นและส่งผลกระทบ ต่อสิ่งมีชีวิตภายในให้ล้มตายได้ โดยทำ �การเชื่อมโยงกับการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมโดยการร่วมกันรักษาต้นไม้ให้คงอยู่เพื่อรักษาอุณหภูมิของโลก ให้คงที่ เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดภาวะโลกร้อน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (SDGs เป้าหมายที่ 13 และ 15)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5