นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 53 3. กิจกรรมการศึกษาความสัมพันธ์ของผึ้งที่มีต่อระบบนิเวศโดย รอบโรงเรียน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) กิจกรรมนี้ได้บูรณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่องของระบบนิเวศและความ หลากหลายทางชีวภาพในการนำ �เข้าสู่การทำ �กิจกรรม โดยนักเรียนจะได้รับ ความรู้ในเรื่องความสำ �คัญของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ผลของสภาพภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไปที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่เป็นตัวกลางในการช่วย ขยายพันธุ์พืช ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน และบริเวณโดยรอบ โรงเรียน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรม 1. การลงพื้นที่โดยรอบของโรงเรียนเพื่อศึกษานับจำ �นวน ประชากรผึ้งที่พบและพืชที่ผึ้งทำ �การเกาะเพื่อหาอาหาร จำ �นวน 3 ครั้งต่อวัน คือ ช่วงเช้า กลางวัน และตอนเย็น 2. การระบุชนิดของผึ้งที่พบร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านผึ้ง การบันทึกความถี่ของชนิดพันธุ์ที่พบ และการบันทึกข้อมูลผึ้ง และพืชที่พบในบริเวณโดยรอบโรงเรียน 3. การรวบรวมข้อมูลและนำ �เสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ ในงานประชุมวิชาการผึ้งและคนเลี้ยงผึ้งระดับนานาชาติใน เดือน พฤศจิกายน 2567 จัดโดย ศูนย์วิจัยผึ้งเพื่อความยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผึ้งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมาก โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำ �ให้ผึ้งมีความเสี่ยงในการตาย ในระยะตัวอ่อน ในวันที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนจะพบจำ �นวนผึ้งน้อยกว่าในวันที่ อากาศแจ่มใส เนื่องจากความไวในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงอากาศ ของผึ้ง ผึ้งที่พบในบริเวณโดยรอบโรงเรียนได้แก่ ผึ้งโพรงเอเชีย ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลวง โดยพบอยู่ที่ต้นปืนนกไส้ ผักเสี้ยนผี และดาวกระจายฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ การนำ �เสนอผลงานการศึกษาความสัมพันธ์ของผึ้งที่มีต่อระบบนิเวศ โดยรอบโรงเรียนภาคภาษาอังกฤษ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ในเรื่องของผึ้งและความสำ �คัญต่อระบบนิเวศ และความเชื่อมโยง ของผึ้งที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับนักวิชาการระดับ นานาชาติทำ �ให้นักเรียนเกิดความตระหนัก และความตื่นรู้ในเรื่องของ สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเห็นความสำ �คัญของ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ภาพ 5 – 7 การเก็บตัวอย่างผึ้งที่พบในบริเวณโดยรอบโรงเรียนและการระบุสปีชีส์ของผึ้งที่พบจากการเก็บตัวอย่าง ภาพ 8 – 9 โปสเตอร์ และ บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกให้นำ �เสนอในงาน ประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของ เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคแม่โขง- ล้านช้างครบวงจร ปีที่ 3 ประจำ �ปี 2567 จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5