นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
54 นิตยสาร สสวท. บทสัมภาษณ์ของ นางสาว บี (นามสมมติ) นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ที่ได้กล่าวว่า “รู้สึกสนุกดีค่ะที่ได้ไปปลูกข้าว ได้ดำ �นาข้าว หนูไม่เคย ทำ �มาก่อนเลยค่ะ เคยได้ยินปู่ย่าพูดกัน เลยรู้เลยค่ะว่าทำ �ยากและแดดร้อน มาก แต่ทำ �ให้ได้รู้ว่าการเป็นชาวนาลำ �บากมากค่ะ กว่าจะได้ข้าวให้เรากิน หนูชอบที่ได้ใช้เรื่องการออกแบบแนวทางการทำ �นาข้าวสมัยใหม่เพื่อลด การขังน้ำ �ลงนาข้าวค่ะ ค่อนข้างยากในตอนเริ่มต้นแต่พอเข้าใจแล้วรู้สึก สนุกค่ะ พอเอาไปใช้งานจริงมันได้ผลดีค่ะ ประทับใจในผลผลิตข้าวที่ได้ ช่วยกันดูแลกับเพื่อนๆ ค่ะ” กิจกรรมเหล่านี้เป็นการเตรียมความพร้อม เยาวชนให้เป็นผู้ที่ตื่นรู้และตระหนักในเรื่องของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน และเป็นประชากรในอนาคตที่มีส่วนช่วยในการถ่ายทอด องค์ความรู้ให้แก่เยาวชนรุ่นต่อไป ผู้เขียนจึงหวังว่าการนำ �องค์ความรู้ที่ได้ จากการเรียนรู้จากประเทศอินโดนีเซียมาผสานเข้ากับประสบการณ์การจัด กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำ �เนินการในโรงเรียนจะสามารถเป็นแนวทางให้กับ เพื่อนครูที่สนใจนำ �ไปประยุกต์ ปรับใช้ในบริบทของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม และเกิดผลลัพธ์กับตัวนักเรียนและสังคมโดยรอบอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อ ทำ �ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต Leicht, A. & Combes, B. & Won, J. B. & Agbedahin, A. V. (2018). From Agenda 21 to Target 4.7: the development of education for sustainable development. In A. Leicht, J. Heiss, & W. J. Byun (Eds.), Issues and Trends in Education for Sustainable Development (pp. 25-38). UNESCO. UNESCO. (2024). What You Need to Know about Education for Sustainable Development. Retrieved November 12, 2024, from https://www.unesco.org/en/ sustainable-development/education/need-know?hub=72522. Watabe, A. & Appleby, D. & Tabucanon, M. & Kawazu, E. (2023). Chapter 9. In M. Elder, P. King, & E. Kawazu (Eds.), Sixth ASEAN State of the Environment Report (pp. 185-205). Association of Southeast Asian Nations. วรวุฒิ แหยมยินดี หนึ่งฤทัย กรองทอง. (2556). การศึกษาปริมาณการใช้น้ำ �ในการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง . ปริญญานิพนธ์ วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. บรรณานุกรม จากประสบการณ์การจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนที่ได้แบ่งปันกับผู้อ่านในครั้งนี้ ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้สึก ตระหนักและเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่อยู่รอบตัวกับสภาวะสภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ดังตัวอย่างบทสัมภาษณ์จากเด็กหญิงเอ (นามสมมติ) นักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กล่าวว่า “หนูรู้สึกสนุกค่ะที่ได้เรียนวิชาชีววิทยา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูมีการทำ �กิจกรรมที่หลากหลาย ได้ทำ � สวนขวดที่เคยเห็นแต่ใน TikTok แต่ไม่เคยได้มีโอกาสลงมือทำ �เลยที่ โรงเรียนเดิม พอได้เห็นผลงานแล้วก็ภูมิใจค่ะ ได้ดูแลมันไปตลอดทั้งเทอม ได้รู้ว่าน้ำ �มีการหมุนเวียนได้ภายในสวนขวดโดยที่เราไม่ต้องรดน้ำ � แต่ถ้าเรา ตากแดดต้นไม้และสัตว์ในสวนขวดมากไปมันจะตายค่ะ น่าจะคล้ายกับ อากาศร้อนที่ร้อนเกินไปก็อาจทำ �ให้ต้นไม้ข้างนอกก็ตายได้ค่ะ” ในส่วนของ การจัดกิจกรรมการทำ �นาข้าวแบบลดปริมาณน้ำ �เพื่อลดปริมาณแก๊สมีเทน ในนาข้าว นักเรียนเกิดความรู้สึกสนุกสนาน และตระหนักถึงองค์ความรู้ที่ เกิดขึ้นจากการทำ �นาข้าวที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น นำ �มาปรับประยุกต์ เข้ากับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการลดการปล่อยแก๊ส เรือนกระจกเป็นกิจกรรมที่นักเรียนเกิดความประทับใจ ดังตัวอย่าง ภาพจาก: https://drkishoresratnamschools.com/ways-to-make-school-eco-friendly/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5