นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 59 ส วัสดีผู้อ่านที่รัก ฉบับนี้ต่ายจะชวนมาดูกันว่า ในยุค AI ที่กำ �ลัง แข่งกันพัฒนาอย่างรุนแรงทุกวันนี้มีเป้าหมายเพื่ออะไรกันบ้าง เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาระบบ AI เพื่อ 1) ทำ �ให้ระบบ AI สามารถทำ �งานแทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบในทุกๆ ขั้นตอน และ เป้าหมายรองลงมาคือ 2) พัฒนาระบบ AI ที่สามารถนำ �เข้าไปผนวกใช้ กับการทำ �งานในหลายๆ อาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ �งาน ชนิดนั้นๆ และ 3) ความพยายามพัฒนาระบบ AI เพื่อจะนำ �มาใช้ ในอีกหลายๆ อาชีพที่ไม่คิดว่า AI จะเข้ามาช่วยได้ ซึ่งทั้งหมดต้องทำ �ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายกับอาชีพของผู้คนในอนาคต ซึ่งต้อง สะท้อนกลับมาที่คำ �ถามที่ว่า “แล้วบุคลากรในภาคการศึกษาจะต้อง ปรับเปลี่ยนอย่างไร ในแนวทางไหน เพื่อที่จะทำ �ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ มากที่สุดสำ �หรับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อจะทำ �ให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถ ประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข” แม้ว่า AI จะมีความก้าวหน้าอย่างมากและสามารถทำ �งาน หลายอย่างได้แม่นยำ �และรวดเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกำ �จัดอีกหลายประเด็นที่ ทำ �ให้ AI ยังไม่สามารถทำ �งานแทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ในทุกๆ อาชีพ ทำ �ให้ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการนำ �เอา AI มาใช้ในการทำ �งานแทนอาชีพของ มนุษย์ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะทางด้านสังคม อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และวิจารณญาณ ล่าสุดมีการพัฒนา GenAI (Generative AI) ขึ้นมา ซึ่งเป็น AI ที่มีความก้าวหน้ามากกว่า AI แบบเดิมมาก GenAI มีความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้จากข้อมูล ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างแนวคิดหรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่แปลกใหม่ได้และสามารถจัดการงานได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนความ โดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์มากนัก (แต่ก็ยังต้องอาศัยมนุษย์อยู่ในบางขั้นตอน) ข้อมูลจาก MIT Sloan Management Review พบว่าบริษัทที่ใช้ GenAI จะมีโอกาสสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากกว่าบริษัทคู่แข่งถึง 5 เท่า และ เมื่อถ้าสามารถนำ � GenAI มาประยุกต์ใช้ได้จะทำ �ให้สามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการทำ �งาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ �งานและเพิ่มรายได้ ให้กับบริษัทต่างๆ ได้นั่นเอง และคุณๆ เชื่อไหมว่า ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ได้มีบริษัทชั้นนำ �หลายๆ บริษัทที่ได้เปลี่ยนจากการจ้างคนทำ �งานเป็น มาใช้ระบบ AI ทำ �งานแทนมนุษย์แล้ว เช่น MSN ที่เป็นพอร์ทัลเว็บ ของสหรัฐฯ และเป็นบริษัทผู้สร้างแพลตฟอร์มการส่งข้อความที่มีชื่อว่า “Frutiger Aero” ได้ตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานเพื่อหันมาใช้ AI ให้ทำ �งาน Q U I Z ต่าย แสนซน แทนคน โดย 4 ปีก่อนหน้านี้ (ในปี พ.ศ. 2563) MSN ได้บอกเลิกจ้าง นักข่าวหลายสิบคนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเขียนข่าวที่แสดงบนหน้าแรก ของบริษัท MSN และตั้งแต่นั้นมาบริษัท MSN ก็ได้ใช้ซอฟต์แวร์ AI เป็นตัวสร้างเนื้อหาต่างๆ ซึ่งการบอกเลิกจ้างพนักงานในครั้งนั้นเป็นผล มาจากความพยายามในการแก้ปัญหาทางการเงินที่บริษัทกำ �ลังเผชิญอยู่ บริษัทต่อมาซึ่งต่ายคิดว่ามีแนวคิดที่น่าสนใจดีทีเดียวคือ บริษัท IKEA บริษัทเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังสัญชาติสวีเดน ได้ประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 ว่าบริษัทจะทำ �การยกเลิกงานคอลเซ็นเตอร์และใช้ AI ที่ชื่อหล่อๆ ว่า Billie เพื่อให้ AI มาทำ �หน้าที่ตอบคำ �ถามแทนพนักงานที่เป็นคน อย่างไรก็ตาม IKEA มีแนวคิดที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ คือ IKEA ได้ วางแผนว่าแทนที่จะปลดพนักงานออก ก็เปลี่ยนเป็นทำ �การฝึกอบรบ เพื่อที่จะเพิ่มพูนทักษะให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบ หลังจากนั้นก็ ฝึกอบรมพนักงานคอลเซ็นเตอร์หลายพันคนให้กลายเป็นที่ปรึกษาด้าน การออกแบบภายในและยังคงเป็นพนักงานของบริษัท IKEA ซึ่งเป็นมุมมอง ที่ IKEA มองว่า “แทนที่จะใช้ AI ให้เป็นอันตรายต่อคนงาน หรือต้อง ปลดพนักงาน ก็ใช้ AI มาช่วยทำ �งานให้มีประสิทธิภาพและไวขึ้น ทำ �ให้ เกิดการสร้างงานใหม่ที่ IKEA ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสในการพัฒนา สำ �หรับพนักงานที่กำ �ลังทำ �งานอยู่” ตัวอย่างต่อมาประกาศออกมาอย่างชัดเจนเลยว่าเลิกจ้าง พนักงานเพราะ AI ทำ �ได้ดีกว่า คือ บริษัท Dukaan เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ในบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ที่ทำ �ธุรกิจเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ต้องการเปิดร้านดิจิทัลและขายสินค้าออนไลน์ โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 Summit Shah ซีอีโอของบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานฝ่ายสนับสนุน ลูกค้า 90% แล้วหันมาใช้แชทบอทที่พัฒนาขึ้นภายในบริษัท ก่อนที่จะแจ้ง เกี่ยวกับการตัดสินใจบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม X โดยโพสต์ของ Shah ระบุว่า การปลดพนักงานของบริษัทเป็น “เรื่องยากแต่จำ �เป็น” เนื่องจาก แชทบอทจะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนของฟังก์ชันการสนับสนุนลูกค้าลง 85% และลดเวลารอของลูกค้าลงอย่างมาก และอย่านำ �ไปเทียบกับแชทบอทที่ คุณๆ เคยใช้ของบริษัทในประเทศไทยเป็นอันขาดเพราะจากประสบการณ์ ที่ต่ายเคยใช้ แชทบอทของไทยยังคุยไม่รู้เรื่องจ้า ลำ �ดับต่อมาคือบริษัทที่พัฒนาแพลตฟอร์มสำ �หรับเรียนภาษา ที่ชื่อ Duolingo โดยสร้างให้เป็นแอปเรียนภาษาแบบเกม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 Duolingo ประกาศว่าจะเลิกจ้างพนักงานรับเหมา 10% ภาพจาก: https://extension.harvard.edu/blog/how-can-i-learn-artificial-intelligence/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5