นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
6 นิตยสาร สสวท. ต ามแนวคิดของ Albert Bandura ที่กล่าวไว้ว่า ความเชื่อหรือการรับรู้ ของบุคคลเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการทำ �สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สำ �เร็จเป็นปัจจัยสำ �คัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและ ความสำ �เร็จของบุคคล บุคคลที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองสูง จะมีแนวโน้มที่จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น มีแรงจูงใจในการทำ �งานมากขึ้น และ สามารถรับมือกับอุปสรรคได้ดีกว่าผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถ ของตนเองต่ำ � Albert Bandura ชี้ว่าความเชื่อมั่นในความสามารถนี้สามารถ พัฒนาได้จาก 4 แหล่งหลักๆ ได้แก่ 1) ประสบการณ์ตรง 2) การเห็นแบบอย่าง 3) การโน้มน้าวจากผู้อื่น และ 4) สภาพอารมณ์และจิตใจ (Bandura, 1997) ในขณะที่ Schunk ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในห้องเรียนก็มีส่วน ในการส่งเสริมความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้เรียน เช่น วิธีการสอน การประเมินผล การให้กำ �ลังใจ ซึ่งสามารถทำ �ให้ผู้เรียนมีความมั่นใจ ในการเรียนรู้และพยายามมากขึ้น (Schunk, 1985) นอกจากนี้ Barry Zimmerman ยังพบว่าผู้เรียนที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงมักมี แนวโน้มที่จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น มีความกระตือรือร้นในการเผชิญกับ อุปสรรค และมีโอกาสประสบความสำ �เร็จสูงขึ้นในการศึกษา (Zimmerman, 1989) และ Frank Pajares ได้เสนอว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีอิทธิพลต่อการตั้งเป้าหมาย ความพยายาม และความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองมีผลต่อพฤติกรรม การเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพในวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำ �คัญที่ทำ �ให้ ผู้เรียนประสบความสำ �เร็จในการเรียนรู้ (Pajares, 1996). ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศ ในการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำ �คัญ เพื่อให้เห็นรูปแบบการสอนที่สามารถ ส่งเสริมและพัฒนาความเชื่อมั่นในความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของ ผู้เรียน ผู้เขียนจึงขอนำ �เสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา เรื่อง สร้างบ้านหมูเด้งด้วยสะเต็มศึกษา โดยหยิบยกประเด็น ที่ผู้เรียนกำ �ลังให้ความสนใจ ได้แก่ กระแสความนิยมของน้องหมูเด้ง มาใช้ เป็นกรณีศึกษาในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากในปัจจุบันฮิปโปแคระ หรือน้องหมูเด้ง แห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี กำ �ลังได้รับ ความนิยม ทำ �ให้มีนักท่องเที่ยวจำ �นวนมากเดินทางไปเข้าชมน้องหมูเด้ง อย่างล้นหลาม แต่โดยธรรมชาติของฮิปโปแคระเป็นสัตว์ที่มีนิสัยรักสงบ ชอบอยู่ในพื้นที่ที่เงียบสงบและมีความเป็นส่วนตัวสูง หากถูกรบกวน มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม สุขภาพ และการอยู่รอด ผู้เขียน จึงได้นำ �เอาสภาพการณ์ปัจจุบันที่เป็นปัญหามาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความเชื่อมั่นใน ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในรายวิชาชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (สำ �นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) กิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สร้างบ้านหมูเด้งด้วยสะเต็มศึกษา ถูกจัดทำ �ขึ้นตามขั้นตอนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งหากผู้เรียนสามารถ ทำ �กิจกรรมสร้างบ้านน้องหมูเด้งสำ �เร็จ ผู้เรียนก็มีโอกาสประสบความสำ �เร็จ ในงานหรือกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อื่น การได้เห็นความสำ �เร็จของกลุ่มเพื่อน การได้รับคำ �แนะนำ � คำ �ชื่นชมจากครูจะทำ �ให้ผู้เรียนรู้สึกคลายกังวล และมีกำ �ลังใจที่จะทำ �เป้าหมายของตนให้สำ �เร็จเช่นเดียวกัน การออกแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเป็นการบูรณาการศาสตร์ 4 ศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยมี เป้าหมายหลักในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการทำ �งานร่วมกัน ซึ่งเป็นทักษะที่สำ �คัญ นอกจากนี้ สะเต็มยังเกี่ยวข้องกับการดำ �รงชีวิต การศึกษา การประกอบอาชีพ และ การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง, 2566) ผู้เขียนจึง อาศัยสภาพการณ์ปัจจุบันที่กำ �ลังเป็นกระแสความนิยมมาเป็นสถานการณ์ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาผ่านแนวทางการจัดการ เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถทาง วิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียน ภาพจาก: https://www.lannaist.ac.th/stem-early-childhood-education/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5