นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252

ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 7 ขั้นตอน 1. ขั้นระบุปัญหา ทำ �ความเข้าใจปัญหาหรือความท้าทาย วิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำ �กัดของสถานการณ์ ปัญหาเพื่อกำ �หนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งจะ นำ �ไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการทำ �กิจกรรม ในการแก้ปัญหา ภาพ 1 ข่าวอรุณอมรินทร์ วันที่ 12 กันยายน 2567 1) ครูนำ �เสนอเหตุการณ์เพื่อนำ �เข้าสู่กิจกรรม เช่น การเปิดภาพ หรือเปิดข่าวที่ทำ �ให้ผู้เรียนสามารถ ร่วมกันระบุปัญหาและเข้าสู่กิจกรรมได้ 2) ครูอาจกระตุ้นด้วยการใช้คำ �ถาม เช่น ผู้เรียนคิดว่าพื้นที่อาศัยของน้องหมูเด้งที่นำ �เสนอ นี้ มีความเหมาะสมกับการดำ �รงชีวิตของน้องหมูเด้ง หรือไม่ ? ผู้เรียนคิดว่าเราควรพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ในการ สร้างที่อยู่อาศัยให้ฮิปโปแคระ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม: ใช้สื่อวีดิทัศน์หรือภาพที่มี เนื้อหาสะเทือนอารมณ์เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียน มากขึ้นได้ ตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างใบกิจกรรม/ภาพกิจกรรม 2. ขั้นรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา รวบรวมข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับ แนวทางการแก้ปัญหาและประเมินความเป็น ไปได้ ข้อดีและข้อจำ �กัด ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4 - 6 คน จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสืบค้นข้อมูล แล้ว ร่วมกันวิพากษ์เพื่อหาข้อสรุป ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับฮิปโปแคระ เช่น ขนาดตัว อาหาร พฤติกรรม ความต้องการในที่อยู่อาศัย 2) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติของฮิปโป แคระ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม: ให้แต่ละกลุ่มสร้าง Mind Map สรุปข้อมูลที่ค้นพบ และเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ภาพ 2 การสืบค้นข้อมูลของผู้เรียน ภาพ 3 การออกแบบที่อยู่อาศัยของหมูเด้ง ภาพ 4 กิจกรรมวางแผนและดำ �เนินการแก้ปัญหา ภาพ 5 ขั้นทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมแก้ ปัญหา หรือชิ้นงาน 3. ขั้นออกแบบวิธีการและกิจกรรม แก้ปัญหา ประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการทำ �กิจกรรม ในการแก้ปัญหา โดยคำ �นึงถึงทรัพยากร ข้อจำ �กัด และเงื่อนไขตามที่สถานการณ์กำ �หนด 1) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการออกแบบที่ อยู่อาศัยในรูปแบบเบื้องต้นโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ค้นคว้าในขั้นที่ 2 2) ครูช่วยแนะนำ �แนวทางการออกแบบเชิงวิศวกรรม และหลักการต่าง ๆ ที่สามารถนำ �มาใช้ได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม: ใช้ซอฟต์แวร์ออกแบบ 3 มิติ เช่น Tinker cad เพื่อช่วยในการสร้างแบบจำ �ลองดิจิทัล ก่อนลงมือจริงได้ 4. วางแผนและดำ �เนินการแก้ปัญหา กำ �หนดลำ �ดับขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน แล้ว ลงมือสร้างชิ้นงาน หรือพัฒนาวิธีการทำ � กิจกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ผู้เรียนร่วมกันสร้างแบบจำ �ลองที่อยู่อาศัยของ ฮิปโปแคระจากวัสดุที่ถูกจัดเตรียมไว้ตามที่ได้ร่วมกัน ออกแบบในขั้นที่ 3 และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิด ขึ้นในระหว่างการทำ �งาน เช่น ข้อจำ �กัดด้านพื้นที่ วัสดุ หรือการออกแบบ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม: ผู้สอนจัด “พื้นที่แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น” เพื่อให้กลุ่มอื่นเข้ามาเสนอแนะแนวทาง ระหว่างการสร้างแบบจำ �ลอง 5. ขั้นทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุง แก้ไขกิจกรรมแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน ทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงาน หรือวิธีการทำ �กิจกรรมโดยผลที่ได้อาจนำ �มาใช้ ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ 1) ครูสังเกต และประเมินการสร้างโมเดลของผู้เรียน แต่ละกลุ่มเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือตั้งคำ �ถามเพื่อ กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ควรปรับปรุง และสิ่งที่ควร พัฒนาในชิ้นงาน 2) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำ �โมเดลที่สร้างขึ้นไปปรับปรุง แก้ไข การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยอาศัยขั้นตอนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5