นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 252
ปีที่ 53 ฉบับที่ 252 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 9 เ สียงสะท้อนเหล่านี้ ครูหลายท่านคงเคยได้ยินจากนักเรียนเมื่อต้อง ให้นักเรียนอธิบายเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการนำ �เสนอ หน้าชั้นเรียน การอธิบายผลการทดลองหรือแม้แต่การเล่าให้เพื่อนฟัง ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายสำ �คัญในการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ปัญหานี้ไม่ได้จำ �กัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่ยังสะท้อนถึงวิกฤต การสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมวงกว้าง เมื่อความรู้วิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน ถูกสื่อสารผิดพลาด บิดเบือน หรือเข้าใจยาก ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิด และการตัดสินใจที่ผิดพลาดในประเด็นสำ �คัญ เช่น การดูแลสุขภาพ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปฏิบัติตนเมื่อเกิด โรคระบาด ครูจึงมีบทบาทสำ �คัญในการพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ไม่เพียงเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่ยังเพื่อสร้างพลเมือง ที่มีความรู้เท่าทันวิทยาศาสตร์ในอนาคต บทความนี้จะนำ �เสนอแนวทาง การพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สำ �หรับครู โดยเน้นการสร้างความมั่นใจ “หนูไม่รู้จะอธิบายยังไง” “เข้าใจแต่พูดไม่ถูก” “กลัวอธิบายผิด” นครินทร์ ฉันทะโส | ธนากร ห้วยหงษ์ทอง | นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | e-mail :Thanakron_pol@hotmail.com รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ | รศ. ดร.จีระวรรณ เกษสิงห์ | อาจารย์ประจำ �สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนุกกับวิทย์ในห้องเรียน : เมื่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด ภาพจาก: https://www.influence-builders.com/blog/science-communication-in-the-age-of-misinformation ให้นักเรียน การใช้เทคนิคการสื่อสารที่เข้าใจง่าย และการเชื่อมโยง วิทยาศาสตร์เข้ากับชีวิตประจำ �วัน เพื่อให้นักเรียนสามารถสื่อสารความรู้ วิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำ �ไมต้องสนใจการสื่อสารวิทยาศาสตร์ “ทำ �ไมต้องใช้เงินภาษีไปกับการส่งยานอวกาศ?” “งานวิจัยพวกนี้มีประโยชน์อะไรกับชีวิตประจำ �วัน?” คำ �ถามเหล่านี้ดังก้องอยู่ในสังคมอเมริกาช่วงทศวรรษ 1950 ในยุคที่การแข่งขันด้านอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต กำ �ลังร้อนแรง แม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับการวิจัยและ พัฒนา แต่ประชาชนกลับไม่เห็นด้วยและไม่เข้าใจถึงความสำ �คัญของ การลงทุนในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าว เหตการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ทำ �ไมวงการวิทยาศาสตร์ต้องตระหนักถึงช่องว่างอันใหญ่หลวงระหว่างนัก วิทยาศาสตร์กับสาธารณชนที่วงการวิทยาศาสตร์ต้องตระหนักถึง ในขณะที่ นักวิทยาศาสตร์มุ่งมั่นทำ �งานวิจัยในห้องทดลอง พวกเขากลับละเลย ี ที่ ั บี่ ุ มั น ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5