นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

12 | นิตยสาร สสวท. กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “เครื่องกลช่วยรอดพ้นอุทกภัย” นี้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เชิงลึกผ่านกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และการใช้สื่อสถานการณ์จำ �ลองฯ ซึ่งครูสามารถนำ �ไปปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นตามบริบทของแต่ละห้องเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรผนวกการประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment) อย่างต่อเนื่องเพื่อสะท้อนความเข้าใจและ พัฒนาการของนักเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมินที่ได้แนบกับเอกสารสำ �หรับครูตามลิงก์ที่ให้ไป การดำ �เนิน กิจกรรมในลักษณะนี้จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะสำ �คัญของนักเรียนทั้งด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการสื่อสาร ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเป็นการปลูกฝังทักษะสำ �คัญสำ �หรับการใช้ชีวิตในโลกที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภาพ 8 ชุดเครื่องกลที่ประกอบด้วยพื้นเอียงที่มีความยาวประมาณ 12 เมตร รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ 1 ตัว ที่ยึดติดไว้กับ เสาบ้าน และระบบล้อกับเพลา 1 ตัว ที่ยึดไว้กับระเบียงบ้าน (ภาพโดย อ.วัฒนะ มากชื่น) ภาพ 9 ชุดเครื่องกลที่ประกอบด้วยรอก 2 ตัวทำ �เป็นรอกพวงระบบที่ 1 โดยปลายเชือกคล้องผ่านรอกอีก 1 ตัวที่เป็นรอกเดี่ยวตายตัว เชือกที่คล้องผ่านรอกเดี่ยวตายตัว คล้องผ่านเพลาของระบบล้อกับเพลา 1 ตัว (ภาพโดย อ.วัฒนะ มากชื่น) ตัวอย่างภาพร่างชุดเครื่องกล 2 ตัวอย่าง ที่ใช้แก้ปัญหาสถานการณ์เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่กำ �หนด ดังภาพ 8 และภาพ 9 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2567). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำ �นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5