นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

20 | นิตยสาร สสวท. การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมนี้ ใช้วิธีการสร้างวีดิทัศน์กระดาษ (Paper Video) ซึ่งเป็นการสร้างภาพ เคลื่อนไหวอย่างง่ายที่ผสมผสานการใช้ตัวละครจากกระดาษ การพากย์ เสียงบรรยาย และเทคนิคการเคลื่อนที่หยุด (Stop-motion Animation) ดังภาพ 2 วิธีการนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดแนวคิดที่ซับซ้อนให้ เข้าใจง่ายผ่านการบูรณาการสื่อหลากหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การสร้างวีดิทัศน์กระดาษสอดคล้องกับทฤษฎี การสร้างสรรค์ความรู้ผ่านการสร้างชิ้นงาน (Constructionism) ของ ศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพอร์ท (Prof. Seymour Papert) ที่เน้นการเรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) (สุรเดช ศรีทา และคณะ, 2558) กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานนี้ไม่เพียงช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา อย่างลึกซึ้ง แต่ยังพัฒนาทักษะที่สำ �คัญหลายด้าน เช่น • การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อถ่ายทอดเป็นเรื่องราว • ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและผลิตสื่อ • ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ • การทำ �งานร่วมกันเป็นทีม การให้ผู้เรียนประดิษฐ์อิเล็กโทรสโคปจากวัสดุในชีวิตประจำ �วัน เช่น แก้วน้ำ �พลาสติก ฟอยล์อะลูมิเนียม ลวดเสียบกระดาษ และดินน้ำ �มัน ภาพ 1 การทดลองโดยใช้อิเล็กโทรสโคปแบบแผ่นโลหะที่ผู้เรียนช่วยกันประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ตรวจสอบประจุไฟฟ้าและเหนี่ยวนำ �อิเล็กโทรสโคปให้มีประจุไฟฟ้า ภาพ 2 ตัวอย่างการสร้างวีดิทัศน์กระดาษเพื่ออธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นในระดับจุลภาค ภาพ 3 ซ้าย แสดงการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค เทียบกับขวา แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค ไม่เพียงเป็นการพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Science Practice) แต่ยังสร้างโอกาสสำ �คัญในการเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างโลกแห่ง ความจริงกับแนวคิดทางฟิสิกส์ กระบวนการเรียนรู้นี้ช่วยพัฒนาสมรรถนะ การนําเสนอตัวแทนความคิด แบ่งออกเป็นสองระดับที่สำ �คัญ 1. ระดับมหภาค (Macroscopic Level) • การสังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้นจากอิเล็กโทรสโคปที่ ประดิษฐ์ขึ้น • การเห็นปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำ �วัน 2. ระดับจุลภาค (Microscopic Level) • การทำ �ความเข้าใจพฤติกรรมของประจุไฟฟ้า • การเชื่อมโยงแนวคิดทางฟิสิกส์กับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ 3. การเชื่อมโยงความเข้าใจทั้งสองระดับนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถ • สร้างคำ �อธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผล • พัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งและคงทน (Minds-on) • ตระหนักว่าประจุไฟฟ้าเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ทั่วไป ไม่จำ �กัด เฉพาะในระบบไฟฟ้า • เห็นความเชื่อมโยงระหว่างฟิสิกส์กับชีวิตประจำ �วัน ดังผลงานของผู้เรียนในภาพ 3 ผู้เรียนช่วยกันสร้างวีดิทัศน์ กระดาษเพื่อแสดงการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ขณะที่นำ �วัตถุที่มีประจุ ไฟฟ้าลบเข้ามาใกล้บริเวณด้านบนอิเล็กโทรสโคป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง ระดับจุลภาคให้สอดคล้องกับผลการทดลองซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ระดับมหภาค พบว่าแผ่นโลหะด้านล่างกางออก กระบวนการเรียนรู้นี้ช่วย เปลี่ยนแนวคิดเรื่องประจุไฟฟ้าจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และ สร้างพื้นฐานความเข้าใจที่สำ �คัญสำ �หรับการเรียนรู้เนื้อหาไฟฟ้าในหัวข้อ อื่นๆ ต่อไป การที่ผู้เรียนสามารถสร้างและอธิบายการทำ �งานของอุปกรณ์ วิทยาศาสตร์จากวัสดุรอบตัวยังช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ จากเรื่องไกลตัวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ �วันซึ่งเป็นพื้นฐาน สำ �คัญในการพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยวีดิทัศน์กระดาษ ยังช่วยให้ ครูได้ตรวจสอบแนวคิดคลาดเคลื่อนของผู้เรียน ดังตัวอย่างผลงานของ ผู้เรียนดังภาพ 4 ผู้เรียนแสดงวีดิทัศน์กระดาษ อธิบายการเคลื่อนที่ของ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5