นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 21 บทสรุป การจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตัวแทน ความคิดที่หลากหลายไม่เพียงช่วยพัฒนาความเข้าใจในเนื้อหาวิชา แต่ยัง เสริมสร้างสมรรถนะสำ �คัญที่จำ �เป็นสำ �หรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาพ 4 ตัวอย่างผลงานของผู้เรียนที่มีแนวคิดคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ ประจุไฟฟ้า ขณะต่อสายดิน (ใช้นิ้วแตะด้านบนอิเล็กโทรสโคป) ซึ่งผู้เรียน แสดงการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าลบที่ถ่ายโอนจากแผ่นโลหะด้านล่างของ อิเล็กโทรสโคปสู่ร่างกาย จนทำ �ให้บริเวณแผ่นโลหะด้านล่างของอิเล็กโทรสโคป มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ซึ่งเป็นแนวคิดคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์เพราะ ประจุไฟฟ้าจะหยุดถ่ายเทเมื่อศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน และการอธิบายโดยใช้ วีดิทัศน์กระดาษขัดแย้งกับผลการทดลองที่พบว่าในขั้นตอนนี้ แผ่นโลหะ ด้านล่างจะหุบลง ซึ่งหากแผ่นโลหะด้านล่างมีประจุบวกจะต้องทำ �ให้ แผ่นโลหะกางออก ซึ่งครูได้ถามคำ �ถามร่วมกับให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) สู่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ในการ คิดไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลเพื่อตัดสินใจ หรือเรียนรู้แนวคิดใหม่ จากประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิต พบว่าผู้เรียน ได้พัฒนาทักษะสำ �คัญหลายด้าน ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการออกแบบและสร้างนวัตกรรม การสื่อสาร (Communication) ผ่าน การถ่ายทอดแนวคิดวิทยาศาสตร์ การทำ �งานร่วมกัน (Collaboration) ในการสร้างชิ้นงาน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ในการวิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ (อภิสิทธิ์ ธงไชย, 2566) แนวทางการจัดการเรียนรู้นี้สามารถนำ �ไปประยุกต์ใช้กับเนื้อหา ฟิสิกส์อื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ระดับ จุลภาค การให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงควบคู่กับ การใช้ตัวแทนความคิดที่หลากหลายในการอธิบายปรากฏการณ์จะช่วย เปลี่ยนมุมมองของผู้เรียนที่มีต่อวิชาฟิสิกส์จากวิชาที่เข้าใจยากให้กลายเป็น วิชาที่มีความหมายและนำ �ไปใช้ได้จริง สำ �หรับครูและนักวิจัยที่สนใจสามารถต่อยอดแนวคิดนี้ได้ หลายแนวทาง เช่น 1. การพัฒนารูปแบบการใช้ตัวแทนความคิดที่เหมาะสมกับ เนื้อหาฟิสิกส์ในหัวข้ออื่นๆ 2. การศึกษาผลของการใช้ตัวแทนความคิดที่หลากหลายต่อการ พัฒนาสมรรถนะเฉพาะด้าน 3. การวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาความเข้าใจแนวคิด วิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงาน 4. การออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะที่สอดคล้องกับการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ให้มีประสิทธิภาพเป็น ความท้าทายที่สำ �คัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เมื่อผู้เรียนได้ พัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะ เจตคติ ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานจะช่วย หล่อหลอมสมรรถนะที่สำ �คัญจำ �เป็นให้กับผู้เรียน ช่วยยกระดับคุณภาพของ การศึกษาวิทยาศาสตร์ และช่วยเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนสำ �หรับ การเรียนรู้ตลอดชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล ชาตรี ฝ่ายคําตา และ พจนารถ สุวรรณรุจิ. (2564). การพัฒนาการด้านสมรรถนะในการนําเสนอตัวแทนความคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหัวข้อเซลล์เคมีไฟฟ้าผ่านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจําลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44 (4): 84-99. ตะวัน บุญนาถ เอกรัตน์ ทานาค และ จุฬาภรณ์ ทองสีนุช. (2562). ฉันจะพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบจำ �ลองเป็นฐานร่วมกับตัวแทนความคิดที่หลากหลายได้อย่างไร. เรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียน เล่ม 2 . กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 วิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นได้จาก https://www.scimath.org/e-books/8437/flipping book/index.html. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำ �นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2566). กรอบการประเมินด้านวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2568. จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/about- pisa/science_competency_framewark/. สุรเดช ศรีทา และคณะ. (2558). สร้างสรรค์ความรู้ที่หลากหลายด้วยวีดิทัศน์กระดาษ. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2568. จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/ kukr_es/BKN/search_detail/dowload_digital_file/303843/175304. อนุพงศ์ ไพรศรี และคณะ. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำ �ลองเป็นฐานในวิชาฟิสิกส์. นิตยสาร สสวท, 51 (244): 26-32. อภิดลน์ เจริญอักษร สุพัฒนพงษ์ ดำ �รงรตน์ และจิตรา เกตุแก้ว. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ประจุและชนิดของประจุ ไฟฟ้าสำ �หรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12 (2): 234-249. อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2566). ความคิดสร้างสรรค์กับนักประดิษฐ์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2568. จาก https://www.scimath.org/article-science/item/12791-2023-01-20-06-29-50. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5