นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

22 | นิตยสาร สสวท. มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ป้องกันได้ก่อนจะสายเกินแก้ ผศ. ดร.พงศธร มหาวิจิตร | ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ | e-mail: pongsatorn1207@gmail.com ชลกานต์ ชมภู | นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ภาพจาก: https://thenewmath.org/ มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด (Concept) เป็นความเข้าใจและความคิดขั้นสุดท้ายของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ความคิดและความเข้าใจนั้นเป็นนามธรรมและเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนั้น (McDonald, 1967) ด้วยเหตุที่มโนทัศน์ เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลสรุปขึ้นเองจากประสบการณ์และความเข้าใจ จึงอาจมีความผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง ต่างจาก คำ �ว่า นิยาม (Definition) ที่จำ �เป็นต้องอยู่ในรูปข้อสรุปที่ตายตัว ดังที่ Otte & Barros (2016) ได้อธิบายถึง ความแตกต่างระหว่างนิยามกับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ว่า นิยามถูกกำ �หนดมาเพื่อสร้างข้อสรุปและเพื่อแก้ปัญหา เชิงเทคนิค ขณะที่มโนทัศน์จะเป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องและมุมมองของความเป็นไปได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5