นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 29 แ ม่น้ำ �กกกำ �ลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่น่าตกใจจากการปนเปื้อนของ สารหนูและตะกั่ว ข้อมูลล่าสุดจากการรายงานข่าวการปนเปื้อนของ สารอันตรายในแม่น้ำ �แห่งนี้ได้ทำ �ให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวาง เมื่อ ผลการตรวจวิเคราะห์บ่งชี้ถึงระดับของสารหนู (Arsenic, As) และตะกั่ว (Lead, Pb) ที่สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยที่ยอมรับได้ โดย มีการตรวจพบปริมาณสารหนูสูงถึง 0.026 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินกว่า ค่ามาตรฐานที่กำ �หนดไว้เพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตรถึง 2.6 เท่า ในขณะที่ ระดับตะกั่วที่ตรวจพบสูงถึง 0.076 มิลลิกรัมต่อลิตร เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตรถึง 1.52 เท่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำ �กกไม่ได้เป็นเพียงข่าวสารที่ น่ากังวล แต่ยังเป็นกรณีศึกษาที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำ �หรับการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ไม่ว่าจะเป็น ในรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือรายวิชาเพิ่มเติม เช่น ชีววิทยา และเคมี โดยข่าววิทยาศาสตร์นี้ไม่เพียงเป็นข่าวสิ่งแวดล้อม สำ �คัญ แต่ยังเป็นกรณีศึกษาที่มีคุณค่าสำ �หรับการบูรณาการการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และ การแก้ปัญหาในบริบทจริงที่จะช่วยให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับสถานการณ์จริงในสังคม (สุทธิพงษ์, 2552) เรื่องราวของการปนเปื้อนสารพิษในแม่น้ำ �สายสำ �คัญนี้สามารถ นำ �มาใช้เป็นหัวข้อการเรียนรู้ในการสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ ถึงผลกระทบจากการกระทำ �ของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งท้ายที่สุด แล้วก็จะย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพวกเรา ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้จะนำ �เสนอแนวทางการบูรณาการ กรณีศึกษาแม่น้ำ �กกปนเปื้อนสารพิษเข้าสู่การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในหลากหลายมิติเพื่อขยายผลความรู้และความตระหนักในวงกว้าง อัน จะนำ �ไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ร่องรอยจากต้นน้ำ �: การเดินทางของสารพิษสู่ผืนแผ่นดินไทย เบื้องหลังการปนเปื้อนสารพิษในแม่น้ำ �กก มีการสันนิษฐานถึง ต้นตอที่อาจมาจากกิจกรรมการทำ �เหมืองทองในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ที่อยู่เหนือต้นน้ำ �กก (ภาพ 1) แม้จะยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการถึง สาเหตุที่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ที่สารพิษอันตรายจะปนเปื้อนและไหลลง สู่แม่น้ำ �กกในประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังแม่น้ำ �กก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและไม่ควรมองข้าม จากภาพ 1 (ซ้าย) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ป่าจำ �นวนมากได้ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่ เหมืองทองในปี ค.ศ. 2024 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2022 การศึกษาโดย Wongsasuluk และคณะ (2021) ได้ประเมิน ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนงานเหมืองทองคำ �ขนาดเล็ก (Small-scale Gold Mining) ใน Banmauk Township ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศเมียนมา (ภาพ 1 ขวา) ซึ่งในการศึกษาพบว่ามีความเข้มข้น ของสารหนูในดินสูงถึง 22.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และยังพบการปนเปื้อน ของแคดเมียม (Cadmium, Cd) ปรอท (Mercury, Hg) และตะกั่ว ในระดับ ที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ พบว่าคนงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 79 ไม่ได้ใช้ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับ สารก่อมะเร็ง โดยผลการประเมินความเสี่ยงมะเร็งพบว่าอยู่ในช่วง 8.02 x 10 -8 ถึง 1.75 x 10 -6 ซึ่งสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้ของ U.S. EPA ที่ 1 x 10 -6 Prescott และคณะ (2020) ได้ชี้ให้เห็นว่าอาชีพหลักของชาว เมียนมาใน Homalin Township ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมา (ภาพ 1 ขวา) คือการทำ �เหมืองแร่ทองคำ �ขนาดเล็กแบบไม่เป็นทางการ (Informal Gold Mining: IGM ซึ่งอาจจะมีความหมายใกล้เคียงกับ เหมืองทองคำ �ขนาดเล็กที่กล่าวในย่อหน้าก่อนหน้านี้) ควบคู่ไปกับการทำ � การเกษตร ซึ่งพบว่าเป็นการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเป็นแหล่งอาหารใน ครัวเรือน (Agriculture for Food) ในขณะที่การทำ �เหมืองทองคำ �จะเป็น ภาพ 1 ซ้าย: แสดงตำ �แหน่งของแม่น้ำ �กกและเหมืองทองในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา (อ้างอิง: สำ �นักข่าวชายขอบ) ขวา: แสดงตำ �แหน่งเมือง Banmauk Township (ลูกศรแดงใหญ่) และตำ �แหน่งของเมือง Homalin Township (ลูกศรแดงเล็ก) ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5